The Royal Chakri Dynasty Collection of His Majesty King Bhumibol Adulyadej.
ปิยนาถ บุนนาค และคณะ
![]()
|
Call no. DS586 ป619พ 2554
จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้คือ การนำเสนออัจฉริยภาพในการบริหารจัดการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรูปแบบที่ยังไม่เคยมีผู้ใดศึกษาและนำเสนอมาก่อน โดยคณะผู้ศึกษาให้ความสำคัญต่อหลักฐานข้อมูลอ้างอิงในการนำเสนออย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ เนื้อหาสำคัญคือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้นำแห่งแผ่นดินในการสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศชาติด้วยพระราชวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกลและลึกซึ้งในการปกครองประเทศ เพื่อ “ประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” โดยผ่านการวางแผนอย่างเป็นระบบ ทำให้ทรงเป็นแบบอย่างของการบริหารจัดการ การบูรณาการการทำงาน ทรงเป็นจอมปราชญ์ของแผ่นดินในการจัดการความรู้ การจัดการศึกษาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ และการบริหารการสื่อสารสร้างความเข้าใจพร้อมกับทรงเป็นผู้นำในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ซึ่งหลังจากทรงประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ โดยเฉพาะโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริแล้ว ก็จะทรงกำกับติดตามและประเมินผลทำให้ตลอดระยะเวลา 60 ปี แห่งการครองราชย์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจที่ยังประโยชน์อย่างยิ่งแก่ปวงชนชาวไทยในลักษณะการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งส่งผลต่อความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงของประเทศชาติ สมดังพระราชปณิธานของพระองค์ สะท้อนให้เห็นพระอัจฉริยภาพ พระเมตตาคุณและพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของพระองค์ต่อปวงชนชาวไทย
|
สตีเวนสัน, วิลเลียม
![]()
|
D743 ส172น 2554
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระวิริยะอุตสาหะ ทรงใช้เวลาว่างวันละเล็กละน้อยเพื่อทรงแปลเรื่อง “นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ” จากต้นฉบับภาษาอังกฤษเรื่อง “A Man Called Intrepid” ของ William Stevenson เป็นเวลาประมาณ ๓ ปี ระหว่างวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐ ถึงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ จึงจบบริบูรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เคยพระราชทานแก่ผู้ทรงรู้จักคุ้นเคยเมื่อทรงแปลเสร็จ ครั้นต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน) จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายเพื่อหารายได้สมทบทุนมูลนิธิชัยพัฒนา เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖๖ พรรษา ใน วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นหนังสือขนาด ๘ หน้ายกมาตรฐาน หนา ๖๐๓ หน้า มีสถิติการพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๖ – ๒๕๓๗ ถึง ๑๒ ครั้ง ครั้งละ ๑๐,๐๐๐ เล่ม ตัวอย่างพระราชนิพนธ์แปล
Who is the happy Warrior… |
ออตี, ฟิลลิส
![]()
|
Call no. DR1305.T5 อ446ต 2554
“ติโต” เป็นพระราชนิพนธ์ที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษเรื่อง “Tito” ของ Phyllis Auty ทรงแปลเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ เพื่อให้ข้าราชบริพารได้ทราบถึงอัจฉริยะของบุคคลผู้นี้ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับ ลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายเพื่อหารายได้สมทบทุนมูลนิธิชัยพัฒนา พระราชนิพนธ์เรื่องนี้ เพียงระยะเวลาระหว่างวันที่ ๕ – ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ พระราชนิพนธ์เรื่องนี้มีสถิติการพิมพ์ถึง ๕ ครั้ง ครั้งละ ๑๐,๐๐๐ เล่ม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอาพระราชหฤทัยใส่ในการทรงแปลเรื่องนี้ ด้วยพระวิริยะอุตสาหะเป็นอย่างยิ่ง บทที่ 1 : บุคคลและศตวรรษ
บทที่ 2 : ทหารลูกทุ่ง
บทที่ 3 : แผ่นดินใหม่
บทที่ 4 : ศิลปะการเรียนรู้
บทที่ 5 : เตรียมรับศึก
บทที่ 6 : แสวงหาพันธมิตร
บทที่ 7 : แม่ทัพใหญ่
บทที่ 8 : ผู้นำทางการเมือง
บทที่ 9 : ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
บทที่ 10 : สำเร็จกิจปฏิวัติ
|
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
|
Call no. Ref. DS586 อ114 2552
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ องค์การศาสนาต่างๆ ต่างซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงพระกรุณาให้การอุปถัมภ์ศาสนาต่างๆอย่างหาสุดมิได้ จึงได้พร้อมกันถวายความจงรักภักดีด้วยการจัดให้มีกิจกรรมทางศาสนา เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศล และถวายพระพรชัยมงคล ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญด้วยพระชนมายุยืนนาน ทรงพระเกษมสำราญ สถิตอยู่เป็นหลักชัยของพสกนิกรตลอดจิรัฐิติกาล |
สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
|
Call no. Ref. DS586 ส162 2549
ภายหลังพระราชพิธีเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2549 สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้จัดทำหนังสือ สดุดีจอมทัพไทย (A Tribute to the Highest Commander of the Royal Thai Armed Forces) สำหรับเนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วยพระราชประวัติ, ความเป็นมาแห่งจอมทัพไทย, ประวัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญชัยสมรภูมิ, ตามรอยพระยุคลบาท กษัตริย์นักพัฒนา, พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ, โครงการในพระราชดำริที่สำคัญๆ และบันทึกประวัติศาสตร์เทิดไท้องค์ราชัน ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี โดยเนื้อหาข้อมูลและภาพประกอบภายในเล่ม ทรงคุณค่าอย่างยิ่งต่อการศึกษาและเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ที่สำคัญสืบไป |
กระทรวงสาธารณสุข
![]()
|
Call no. Ref. DS586 ส639 2550
หนังสือ “สาธารณสุขของแผ่นดิน” เป็นหนังสือที่รวบรวมความเป็นมาของการแพทย์และการสาธารณสุขในอดีต ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชกรณียกิจ พระราชดำรัสและโครงการพระราชดำริของพระองค์ท่านที่เกี่ยวข้องกับงานสาธารณสุข เพื่อจารึกพระเกียรติคุณอันสูงส่งที่พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอันทรงคุณค่าเพื่อสุขภาพอนามัยของปวงชนชาวไทย |
ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
![]()
|
Call no. SF427 ภ671ร 2546
His Majesty King Bhumibol Adulyadej Biography of a Pet Dog. |
ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
![]()
|
Call no. BQ1470.M3594 ช512 2552
พระราชนิพนธ์ที่เป็นของขวัญพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย เนื่องในพระราชวโรกาสกาญจนาภิเษกในปี พ.ศ.2539 โดยมีพระราชประสงค์ให้เป็นเครื่องเตือนสติคนไทยให้มีความวิริยะอุตสาหะ ตื่นจากการหลงใหลและมัวเมาในสิ่งที่บั่นทอนชีวิต ให้หันกลับมามีสติ ขยันหมั่นเพียร เพื่อความสุขและความสำเร็จในหน้าที่การงาน หนังสือเล่มนี้แสดงให้เห็นพระวิริยะบารมี ซึ่งเป็นแบบอย่างของความเพียรพยายามที่ต่อเนื่อง เข้มแข็ง และสะท้อนถึงความกล้าหาญในการกระทำสิ่งที่ถูกต้องและชอบธรรม เพื่อความผาสุกของราษฎร และผลประโยชน์ของส่วนรวม พระองค์ท่านทรงปรับปรุงอรรถกถาให้กระชับ เข้าใจง่ายและมีจินตนาการสร้างสรรค์ ให้ผู้อ่านเกิดความรื่นรมย์ พร้อมกับการเข้าถึงธรรมะ อันเป็นหลักสำคัญของหนังสือ ทรงให้มีการจัดหน้าแบบหนังสือเทพนิยาย และให้มีภาพเขียนประกอบที่งดงามทุกหน้าด้วยฝีมือของศิลปินระดับชาติ และบรรยายภาพทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ |
สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
![]()
|
Call no. Ref. Q149.T5 พ357 2550
ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่นี้ ทางสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดทำหนังสือเฉลิมพระเกียรติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ที่มีความเป็นนักวิทยาศาสตร์ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทุกโครงการที่พระราชทานมาเพื่อให้ราษฎรมี ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในทุกๆ ด้านนั้น เมื่อศึกษาในแต่ละโครงการ จะพบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ทรงสังเกต ทดลอง และสรุปผลก่อนจะพระราชทานเป็นโครงการต่าง ๆ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นครู ทรงเป็นต้นแบบของการเรียนรู้แบบองค์รวมจากสิ่งรอบตัว แม้จะเป็นนักวิทยาศาสตร์หรือไม่ก็ตาม สามารถนำไปปฏิบัติตามได้ทั้งสิ้น |
มณทิพย์ เจตยะคามิน
|
Call no. DS586 พ433 2554
เมื่อปีพ.ศ. 2554 ซึ่งนับเป็นปีมหามงคลที่กระทรวงศึกษาธิการได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชสมัญญาให้พระองค์ว่า พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน” เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 84 พรรษา ที่พระองค์ทรงอุทิศพระวรกายและสติปัญญาให้กับประเทศชาติและประชาชน โดยไม่ย่อท้อหรือลดละความพยายามในการที่จะนำความสุขและความสงบยั่งยืนมาสู่พสกนิกรชาวไทยทุกคน และนอกจากนี้ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครู พระองค์ก็ได้ทรงประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีอันประเสริฐล้ำค่าแก่ผู้ประกอบอาชีพครู และทรงย้ำเน้นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนมีพื้นฐานของความเป็นครู จะได้มีความสนใจ และได้เรียนตามความถนัดที่แตกต่างกัน ได้เรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย พระองค์ทรงเน้นการสาธิต การทดลอง การแก้ปัญหาจริง การลงมือปฏิบัติจริง ศึกษา ค้นคว้าสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเอง อย่างต่อเนื่องและที่สำคัญพระองค์ทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกล ซึ่งทรงมีพระราชดำริให้มีการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ทุกโรงเรียนจะได้ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ และประสบความสำเร็จในการศึกษาทรงเป็นบุคลากรที่ทรงคุณค่าต่อการพัฒนาประเทศมากมาย ดังพระราชดำรัสที่ได้กล่าวว่า “ ผู้ที่เป็นครูจะต้องถือเป็นหน้าที่อันดับแรก ที่จะต้อง ให้การศึกษา คือ สั่งสอนอบรมอนุชนให้ได้ผลแท้จริง ทั้งในด้านวิชาความรู้ ทั้งในด้านจิตใจ และในด้านความประพฤติ อีกทั้งต้องคิดว่างานที่แต่ละคนกำลังทำอยู่นี้คือความเป็นความตายของประเทศ เพราะอนุชนที่มีความรู้ความดีเท่านั้นที่จะสามารถรักษาชาติบ้านเมืองเอาไว้ได้ ” |