ออตี, ฟิลลิส
![]()
|
Call no. DR1305.T5 อ446ต 2554
“ติโต” เป็นพระราชนิพนธ์ที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษเรื่อง “Tito” ของ Phyllis Auty ทรงแปลเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ เพื่อให้ข้าราชบริพารได้ทราบถึงอัจฉริยะของบุคคลผู้นี้ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับ ลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายเพื่อหารายได้สมทบทุนมูลนิธิชัยพัฒนา พระราชนิพนธ์เรื่องนี้ เพียงระยะเวลาระหว่างวันที่ ๕ – ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ พระราชนิพนธ์เรื่องนี้มีสถิติการพิมพ์ถึง ๕ ครั้ง ครั้งละ ๑๐,๐๐๐ เล่ม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอาพระราชหฤทัยใส่ในการทรงแปลเรื่องนี้ ด้วยพระวิริยะอุตสาหะเป็นอย่างยิ่ง บทที่ 1 : บุคคลและศตวรรษ
บทที่ 2 : ทหารลูกทุ่ง
บทที่ 3 : แผ่นดินใหม่
บทที่ 4 : ศิลปะการเรียนรู้
บทที่ 5 : เตรียมรับศึก
บทที่ 6 : แสวงหาพันธมิตร
บทที่ 7 : แม่ทัพใหญ่
บทที่ 8 : ผู้นำทางการเมือง
บทที่ 9 : ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
บทที่ 10 : สำเร็จกิจปฏิวัติ
|
สตีเวนสัน, วิลเลียม
![]()
|
D743 ส172น 2554
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระวิริยะอุตสาหะ ทรงใช้เวลาว่างวันละเล็กละน้อยเพื่อทรงแปลเรื่อง “นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ” จากต้นฉบับภาษาอังกฤษเรื่อง “A Man Called Intrepid” ของ William Stevenson เป็นเวลาประมาณ ๓ ปี ระหว่างวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐ ถึงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ จึงจบบริบูรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เคยพระราชทานแก่ผู้ทรงรู้จักคุ้นเคยเมื่อทรงแปลเสร็จ ครั้นต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน) จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายเพื่อหารายได้สมทบทุนมูลนิธิชัยพัฒนา เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖๖ พรรษา ใน วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นหนังสือขนาด ๘ หน้ายกมาตรฐาน หนา ๖๐๓ หน้า มีสถิติการพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๖ – ๒๕๓๗ ถึง ๑๒ ครั้ง ครั้งละ ๑๐,๐๐๐ เล่ม ตัวอย่างพระราชนิพนธ์แปล
Who is the happy Warrior… |