CGI received many interesting books from friends of our library. ตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 ศูนย์การเรียนรู้ได้เริ่มดำเนินการคัดเลือกสิ่งพิมพ์อภินันทนาการที่มีคุณค่าทางเนื่้อหา |
![]() |
สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ
สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ เป็นแหล่งรวม “รีตบ้านรอยเมือง” หรือภูมิปัญญาในภูมิภาควัฒนธรรมล้านนา หรือเป็นงานประมวลข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับวัฒนธรรมของกลุ่มชนในขอบเขตวัฒนธรรมล้านนาหรือภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย เป็นสิ่งที่ปรากฏทั้งในหมู่บ้านและในเมือง อีกทั้งยังได้สืบทอดสร้างเสริมกันสืบมา ทั้งที่ปรากฏเป็นรูปแบบให้มองเห็นและรูปแบบที่เชื่อถือหรือแสดงออกร่วมกัน รวมถึงกิจกรรมหรือพฤติกรรมของคนในเขตดังกล่าว ตลอดไปถึงทรัพยากรบุคคลและสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดจากเขตภูมิภาควัฒนธรรมนี้ โดยเน้นที่กลุ่มชนซึ่งพูดภาษาล้านนาและกลุ่มชนที่อยู่ในขอบข่ายของอาณาจักรล้านนามาแต่โบราณ และนอกเหนือจากที่จะกล่าวถึงวัฒนธรรมของคนเผ่าไทยวนแล้ว ยังจะเชื่อมโยงไปถึงชนในกลุ่มไทลื้อ ไทเขิน และไทใหญ่ ตลอดจนชนกลุ่มน้อยที่เกี่ยวข้อง หากจะกล่าวในแง่ภูมิศาสตร์ปัจจุบันแล้ว งานในสารานุกรมฯนี้ จะเป็นประมวลความรู้ที่ครอบคลุมพิ้นที่ในเขตจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน แพร่ แม่ฮาองสอน ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ และบริเวณชายขอบประเทศไทยทางภาคเหนือซึ่งเชื่อมต่อเขตเชียงตุง เชียงรุ่ง และหลวงพระบาง ในการอธิบายรายละเอียดแต่ละเรื่องของสารานุกรมนี้ จะใช้ภาษาไทยกลางในการสื่อสาร แต่วิธีการนำเสนอจะเป็นแบบนำความจากข้างในไปสู่ข้างนอก คือนำเรื่องในท้องถิ่นออกมาอธิบายตามที่ปรากฏในความเข้าใจแบบล้านนา หัวเรื่องที่จะต้องอธิบายนั้นเป็นชื่อเรื่องหรือเรื่องในท้องถิ่นที่เป็นศัพท์ของถิ่นเหนือ
สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (2542) จำนวน 15 เล่มเล่ม 1 กก – ไกรศรี นิมมานเหมินท์, นาย; เล่ม 2 ขน – ค่ายโสณบัณฑิตย์; เล่ม 3 คำ – เจ้า; เล่ม 4 เจ้าขันทั้งห้า – ดอยหลวง, กิ่งอำเภอ; เล่ม 5 ดอยหลวง, อุทยานแห่งชาติ – ทองดี โพธิยอง, นาง; เล่ม 6 ทองแสนขัน, อำเภอ – น้ำพริกอี่เก๋; เล่ม 7 น้ำพุร้อน – ปางมะผ้า, อำเภอ; เล่ม 8 ปางหมู,วัด – พระธาตุ; เล่ม 9 พระธาตุขวยปู, วัด – ไฟไหม้, หวาน; เล่ม 10 ภักดีราชกิจ, พระยา – ยอย; เล่ม 11 ยักขินี – ลี้, อำเภอ; เล่ม 12 ลี้ – ส่งชน; เล่ม 13 ส่งแถน – สุวัณณจักกวัตติราช; เล่ม 14 สุวัณณะจักก่าตำ – เหตุหื้อวินาสฉิบหาย; เล่ม 15เหตุหื้อเสียยส – แฮริส, ศาสนาจารย์ ดร.วิลเลียม
สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (ฉบับเพิ่มเติม) (2554) จำนวน 3 เล่มเล่ม 1 กกฝ้ายลาย – ตำนานเชียงแสน/พื้นเมืองเชียงแสน/ตำนานเมืองเชียงแสน (ขึนทึงและขุนเจือง); เล่ม 2 ตำนานดอยเกิ้ง – ภิกขุณี; เล่ม 3 ม้ง – ฮม้ง (แม้ว) – ฮายดอก/ฮายลาย สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคอีสาน
สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคอีสาน เป็นประมวลองค์ความรู้ทางด้านวัฒนธรรมที่ปรากฏอยู่ในภูมิภาคอีสานทุกกลุ่มวัฒนธรรม ครอบคลุมพื้นทีราบสูงโคราชทั้งหมด นับตั้งแต่เทือกเขาดงพระยาเย็นและเทือกเขาเพชรบูรณ์ไปจดฝั่งแม่น้ำโขง ซึ่งมีประชากรกว่า 20 ล้านคน ในพื้นที่ 19 จังหวัด หากพิจารณาความแตกต่างด้านวัฒนธรรมภาษาที่ใช้อยู่ในภูมิภาคอีสาน จะจัดได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ 1) กลุ่มวัฒนธรรมไทย-ลาว คือ กลุ่มชนที่พูดภาษาถิ่นอีสาน อันเป็นภาษาไทยถิ่นสาขาหนึ่ง 2) กลุ่มวัฒนธรรมเขมร-ส่วย เป็นกลุ่มชนที่พูดภาษาเขมร (แขมรเลอ คือ เขมรสูง หากเป็นภาษาเขมรในประเทศกัมพูชา เรียกว่า แขมรกรอม คือ เขมรต่ำ) และภาษากูย คือ สาขาหนึ่งของภาษาเขมร 3) กลุ่มวัฒนธรรมไทยเบิ้ง คือ กลุ่มชนที่พูดภาษาไทยโคราช ซึ่งเป็นภาษาไทยมาตรฐานที่มีสำเนียงเพี้ยนเหน่อ และมีคำศัพท์เฉพาะถิ่นอยู่บ้างไม่มากนัก นอกจากนี้ยังมีชนกลุ่มน้อยอันเป็นกลุ่มวัฒนธรรมย่อยของกลุ่มวัฒนธรรมทั้งสามดังกล่าวอีกส่วนหนึ่ง
สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน (2542) จำนวน 15 เล่มเล่ม 1 กง: ขนม[เขมร] – เกษตรวัฒนา, พระ; เล่ม 2 เกษตรวิสัย, เมือง – ค้ำโพธิ์ ค้ำไทรฯ[โคราช], พิธี; เล่ม 3 ค้ำโพธิ์, ค้ำไฮ: พิธีกรรม – ชัยภูมิ, อำเภอเมือง; เล่ม 4 ชัยภูมิพิทักษ์, วัด – ตีข่า[ค้าทาส]; เล่ม 5 ตีเนียง: ตำรา – เทศน์แหล่; เล่ม 6 เทศาภิบาล, ข้าหลวง – น้ำศักดิ์สิทธิ์ในภาคอีสาน; เล่ม 7 นิคมคำสร้อย, อำเภอ – ประจักษ์ศิลปาคม, กรมหลวง; เล่ม 8 ประจันตประเทศธานี, พระยา – พงศาวดารเมืองสกลนคร; เล่ม 9 พญาคันคาก – ไพหญ้า; เล่ม 10 ฟ้อนผู้ไทย – มีเนิก: นิทาน; เล่ม 11 มื้อเก้ากอง: ฤกษ์ยาม – เล่นสาว: ประเพณี; เล่ม 12 เลย, จังหวัด – ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้; เล่ม 13 สกลนคร, จังหวัด – สุริวงศ์: วรรณกรรมนิทาน; เล่ม 14 สุรินทร์: ข้าหลวงฯ – หอแจก[ศาลาการเปรียญ]; เล่ม 15 หอนางอุสา: โบราณสถาน – โฮล[ลายซิ่นเขมร]
สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน (ฉบับเพิ่มเติม) (2554) จำนวน 3 เล่มเล่ม 1 กงสุลฝรั่งเศสในภาคอีสาน – ไทยแสกบ้านบะหว้า (อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม); เล่ม 2 ธรรมราชานุวัตร (กันโตภาสเถระ), พระ – มหาธรรมิกราช, สมเด็จพระ; เล่ม 3 มหาพุทธาราม, วัด – เฮือนผี-เฮืนแฮ่ว (อัฐิบรรพบุรุษ)
สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคกลาง
สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคกลาง เป็นแหล่งรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตและภูมิปัญญาของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในภาคกลาง ซึ่งมีทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม และมีทั้งที่เป็นลักษณะเฉพาะถิ่นเฉพาะกลุ่มชนและที่เป็นลักษณะร่วม ครอบคลุมพื้นที่ 35 จังหวัด ได้แก่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี สระบุรี ชัยนาท ลพบุรี กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี ตราดและสระแก้ว วัฒนธรรมในที่นี้หมายถึง วิถีชีวิตของกลุ่มชน ซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรมและสิ่งที่คนในกลุ่มหรือหมู่ผลิตหรือสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในกลุ่ม
สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง (2542) จำนวน 15 เล่มเล่ม 1 กก: พืช – ไกลบ้าน, พระราชนิพนธ์; เล่ม 2 ขด: เครื่องใช้ – ค้างคาว: สัตว์; เล่ม 3 ค้างคาวกินกล้วย, เพลง – จิตรกรรมกระบวนจีน; เล่ม 4 จิตรกรรมไทย – ชื่น หัตถโกศล, นาย; เล่ม 5 ชุดดักปลา: เครื่องใช้ – ไถนา: การเล่น; เล่ม 6 ทบศอก, ขนม – นครสวรรค์, วัด; เล่ม 7 นครหลวง, อำเภอ – บุหงา; เล่ม 8 บุหลันลอยเลื่อน, เพลง – พรหมพิราม, อำเภอ; เล่ม 9 พรหมาภิบาล (ทองใบ สุวรรณภารต), พระยา – พิชัยสงคราม, ตำรา; เล่ม 10 พิทักษ์เทเวศร์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ – มอญในภาคกลาง; เล่ม 11 มอญในอุทัยธานี – ระบบศักดินา; เล่ม 12 ระบำ – วชิราวุธวิทยาลัย, โรงเรียน; เล่ม 13 วรเชษฐาราม, วัด – สมุทรปราการ, จังหวัด; เล่ม 14 สมุทรโฆษคำฉันท์ – หม้อทะนน: ภาชนะ; เล่ม 15 หม่อม – โฮกปี๊บ: การเล่น
สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง (ฉบับเพิ่มเติม) (2554) จำนวน 3 เล่มเล่ม 1 ก.สุรางคนางค์ – บางพระ, วัด; เล่ม 2 บ้านโซวเฮงไถ่ – ฤาษีเปิดหน้า-ปิดหน้า; เล่ม 3 ละครตลกนายเนตร นายต่าย – โองการสารเดชวิธีน้อย
สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคใต้
เป็นงานประมวลข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับวัฒนธรรมทุกแขนงของกลุ่มชนย่อยและกลุ่มชนใหญ่ของคนไทยในภาคใต้ คลุมเขตพื้นที่ 14 จังหวัด คือ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนาธิวาส วัฒนธรรมตามนัยของสารานุกรมนี้หมายถึง สิ่งทั้งปวงที่กลุ่มชนในภาคใต้สืบทอดและสร้างเสริมต่อ ๆ กันมา ทั้งที่ปรากฏเป็นรูปลักษณธให้มองเห็นได้และที่เป็นรูปแบบซึ่งเชื่อถือและแสดงออกร่วมกัน ตลอดถึงกิจกรรมหรือพฤติกรรมร่วมของกลุ่มชนน้อยใหญ่ในภาคใต้ รวมทั้งทรัพยากรบุคคลและงานประดิษฐ์คิดค้นบางอย่างอันได้รับหรือส่งอิทธิพลซึมซับสัมพันธ์ต่อวิถีชีวิตของกลุ่มชน ไม่ว่าประดิษฐกรรมนั้น ๆ จะเกิดจากทรัพยากรบุคคลที่มีถิ่นกำเนิดในภาคใต้หรือไม่ก็ตาม
สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ (2542) จำนวน 18 เล่มเล่ม 1 ก ข้อก กา สุภาษิต – เกาะ, เรือ; เล่ม 2 เกาะ: อายัด – ค้อ,ปลา; เล่ม 3 คอกช้าง: การจับช้างเถื่อน – จับ ฐิตธมโม; เล่ม 4 จับ: พืช – ชาบ้าน; เล่ม 5 ชาพระธาตุ – ต่องย่องสู, ศาลเจ้า; เล่ม 6 ตองแห้ง: พืช – ทะเลสองห้อง; เล่ม 7 ทะเลสาบสงขลา – ธุระไม่ใช่: นิทาน; เล่ม 8 นกกระจาบ: วรรณกรรม – บือบื๋อ: การเล่นของเด็ก; เล่ม 9 บุก: พืช – ปาล์มน้ำมัน, พืช; เล่ม 10 ป่าลิไลยก์(อำเภอไชยา), วัด – พระพุทธนวราชบพิตร; เล่ม 11 พระพุทธนิมิต – ไฟไหม้ลาม: เรื่องสั้น; เล่ม 12 ภควตา – เมืองพระเวียง; เล่ม 13 เมืองพังงา, อำเภอ – เรือขุดแร่; เล่ม 14 เรือครัว – วักด้ำ; เล่ม 15 วัง, วัด – สงฆ์ภาคทักษิณ, วิทยาลัย; เล่ม 16 สงสน ไชยเดช – สุนัต; เล่ม 17 สุบินสำนวนเก่า: วรรณกรรม – หาดใหญ่, อำเภอ; เล่ม 18 หาบข้าว – เฮฮากับสะหม้อ
สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ (ฉบับเพิ่มเติม) (2554) จำนวน 3 เล่มเล่ม 1 กระจ่าง จันทร์สังข์ – เต่าทะเล; เล่ม 2 ถลาง, อำเภอ – แพทย์พื้นบ้านภาคใต้; เล่ม 3 ภาคใต้ – ไอ้วก : ตัวตลกหนังตะลุง
อภินันทนาการจาก ห้องสมุดสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
|
![]() |
หนังสือ “นกเงือก มรดกไทย มรดกโลก” Hornbill – Thailand and World Heritage
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ได้จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่ภาพชีวิตของนกเงือกและเพื่อนร่วมป่าในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และแจกแก่สถานศึกษา ห้องสมุดประชาชน ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้ใช้ศึกษาเกี่ยวกับชีวิตนกเงือกและสัตว์ป่า คุณค่าของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะผืนป่ามรดกโลกให้คงอยู่คู่คนไทยตลอดไป AUTHOR พิไล พูลสวัสดิ์ http://www.sc.mahidol.ac.th/academics/staff/AC_p/Pilai_P.htm
IMPRINT กรุงเทพฯ : โครงการศึกษานิเวศวิทยาของนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555 http://www.sc.mahidol.ac.th/tha/research/hornbill.htm อภินันทนาการจาก ศาสตราจารย์ ดร. กวี รัตนบรรณางกูร |