December 2012

 

The Royal Chakri Dynasty Collection of His Majesty King Bhumibol Adulyadej.

1) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระอัจฉริยภาพในการบริหารจัดการ

 

ปิยนาถ บุนนาค และคณะ

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว-พระอัจฉริยภาพในการบริหารจัดการ.png

 

Call no. DS586 ป619พ 2554 

จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้คือ การนำเสนออัจฉริยภาพในการบริหารจัดการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรูปแบบที่ยังไม่เคยมีผู้ใดศึกษาและนำเสนอมาก่อน โดยคณะผู้ศึกษาให้ความสำคัญต่อหลักฐานข้อมูลอ้างอิงในการนำเสนออย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ เนื้อหาสำคัญคือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้นำแห่งแผ่นดินในการสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศชาติด้วยพระราชวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกลและลึกซึ้งในการปกครองประเทศ เพื่อ “ประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” โดยผ่านการวางแผนอย่างเป็นระบบ ทำให้ทรงเป็นแบบอย่างของการบริหารจัดการ การบูรณาการการทำงาน ทรงเป็นจอมปราชญ์ของแผ่นดินในการจัดการความรู้ การจัดการศึกษาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ และการบริหารการสื่อสารสร้างความเข้าใจพร้อมกับทรงเป็นผู้นำในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ซึ่งหลังจากทรงประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ โดยเฉพาะโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริแล้ว ก็จะทรงกำกับติดตามและประเมินผลทำให้ตลอดระยะเวลา 60 ปี แห่งการครองราชย์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจที่ยังประโยชน์อย่างยิ่งแก่ปวงชนชาวไทยในลักษณะการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งส่งผลต่อความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงของประเทศชาติ สมดังพระราชปณิธานของพระองค์ สะท้อนให้เห็นพระอัจฉริยภาพ พระเมตตาคุณและพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของพระองค์ต่อปวงชนชาวไทย

 

2) นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ

 

สตีเวนสัน, วิลเลียม

 

นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ.png

 

D743 ส172น 2554 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระวิริยะอุตสาหะ ทรงใช้เวลาว่างวันละเล็กละน้อยเพื่อทรงแปลเรื่อง “นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ” จากต้นฉบับภาษาอังกฤษเรื่อง “A Man Called Intrepid” ของ William Stevenson เป็นเวลาประมาณ ๓ ปี ระหว่างวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐ ถึงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ จึงจบบริบูรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เคยพระราชทานแก่ผู้ทรงรู้จักคุ้นเคยเมื่อทรงแปลเสร็จ ครั้นต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน) จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายเพื่อหารายได้สมทบทุนมูลนิธิชัยพัฒนา เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖๖ พรรษา ใน วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นหนังสือขนาด ๘ หน้ายกมาตรฐาน หนา ๖๐๓ หน้า มีสถิติการพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๖ – ๒๕๓๗ ถึง ๑๒ ครั้ง ครั้งละ ๑๐,๐๐๐ เล่ม

ตัวอย่างพระราชนิพนธ์แปล

Who is the happy Warrior…
That every man in arms would wish to be?
–It is the generous spirit …
Who, doomed to go in company with Pain,
And Fear, and Bloodshed …
Turns his necessity to glorious gain …
And in himself possess his own desire …
And therefore does not stoop, nor lie in wait
For wealth, or honors, or for worldly state …
And, through the heat of conflict, keeps the law
In calmness made, and sees what he foresaw.
นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ
นักรบใด ใจมั่น พลันเริงร่า ถ้วนทหาร ปรารถนา เป็นเช่นเขา
สู้สุดฤทธิ์ ในกิจ ทั้งหนักเบา ยอมรับเอา ด้วยมโน อันโอฬาร์
เป็นเกลอกับ ทุกข์กล้า แสนสาหัส อันตราย สารพัด ไม่หน่ายหน้า
ถึงขามจิต โลหิตซับ กับพสุธา ใจเย็นได้ ไม่ว้า หวั่นพะวง
แลเห็นความ ลำเค็ญ เป็นประโยชน์ อันช่วงโชติ ชวลิต น่าพิศวง
ตั้งจิตไว้ ไม่พรั่น ด้วยมั่นคง และอาจอง ทะนงรัก ศักดิ์แห่งตน
ไม่ยอมลด กายใจ ให้ต่ำต้อย เพื่อจะคอย ตวงตัก แม้สักหน
ซึ่งยศศักดิ์ อัครฐาน ศฤงคารตน หมายเทิดผล คือความดี ที่ศรัทธา
กฎอันใด แม้วางไว้ ในยามสงบ ปองเคารพ ชูเชิด ให้เจิดจ้า
ดำเนินตาม ที่เห็นชัด ในหัทยา ว่าเป็นภา-ระเลิศ ประเสริฐจริง

 

3) ติโต Tito

 

ออตี, ฟิลลิส

 

ติโต-Tito.png

 

Call no. DR1305.T5 อ446ต 2554 

“ติโต” เป็นพระราชนิพนธ์ที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษเรื่อง “Tito” ของ Phyllis Auty ทรงแปลเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ เพื่อให้ข้าราชบริพารได้ทราบถึงอัจฉริยะของบุคคลผู้นี้ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับ ลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายเพื่อหารายได้สมทบทุนมูลนิธิชัยพัฒนา พระราชนิพนธ์เรื่องนี้ เพียงระยะเวลาระหว่างวันที่ ๕ – ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ พระราชนิพนธ์เรื่องนี้มีสถิติการพิมพ์ถึง ๕ ครั้ง ครั้งละ ๑๐,๐๐๐ เล่ม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอาพระราชหฤทัยใส่ในการทรงแปลเรื่องนี้ ด้วยพระวิริยะอุตสาหะเป็นอย่างยิ่ง

บทที่ 1 : บุคคลและศตวรรษ
บทที่ 2 : ทหารลูกทุ่ง
บทที่ 3 : แผ่นดินใหม่
บทที่ 4 : ศิลปะการเรียนรู้
บทที่ 5 : เตรียมรับศึก
บทที่ 6 : แสวงหาพันธมิตร
บทที่ 7 : แม่ทัพใหญ่
บทที่ 8 : ผู้นำทางการเมือง
บทที่ 9 : ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
บทที่ 10 : สำเร็จกิจปฏิวัติ

 

4) องค์เอกอัครศาสนูปถัมภก พระผู้ทรงอุปถัมภ์ศาสนา

 

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

 

องค์เอกอัครศาสนูปถัมภก-พระผู้ทรงอุปถัมภ์ศาสนา.jpg

 

Call no. Ref. DS586 อ114 2552 

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ องค์การศาสนาต่างๆ ต่างซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงพระกรุณาให้การอุปถัมภ์ศาสนาต่างๆอย่างหาสุดมิได้ จึงได้พร้อมกันถวายความจงรักภักดีด้วยการจัดให้มีกิจกรรมทางศาสนา เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศล และถวายพระพรชัยมงคล ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญด้วยพระชนมายุยืนนาน ทรงพระเกษมสำราญ สถิตอยู่เป็นหลักชัยของพสกนิกรตลอดจิรัฐิติกาล

 

5) สดุดีจอมทัพไทย : A Tribute to the Highest Commander of the Royal Thai Armed Forces

 

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

 

สดุดีจอมทัพไทย.jpg

 

Call no. Ref. DS586 ส162 2549 

ภายหลังพระราชพิธีเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2549 สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้จัดทำหนังสือ สดุดีจอมทัพไทย (A Tribute to the Highest Commander of the Royal Thai Armed Forces) สำหรับเนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วยพระราชประวัติ, ความเป็นมาแห่งจอมทัพไทย, ประวัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญชัยสมรภูมิ, ตามรอยพระยุคลบาท กษัตริย์นักพัฒนา, พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ, โครงการในพระราชดำริที่สำคัญๆ และบันทึกประวัติศาสตร์เทิดไท้องค์ราชัน ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี โดยเนื้อหาข้อมูลและภาพประกอบภายในเล่ม ทรงคุณค่าอย่างยิ่งต่อการศึกษาและเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ที่สำคัญสืบไป

 

6) สาธารณสุขของแผ่นดิน

 

กระทรวงสาธารณสุข

 

 

สาธารณสุขของแผ่นดิน.jpg

 

Call no. Ref. DS586 ส639 2550 

หนังสือ “สาธารณสุขของแผ่นดิน” เป็นหนังสือที่รวบรวมความเป็นมาของการแพทย์และการสาธารณสุขในอดีต ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชกรณียกิจ พระราชดำรัสและโครงการพระราชดำริของพระองค์ท่านที่เกี่ยวข้องกับงานสาธารณสุข เพื่อจารึกพระเกียรติคุณอันสูงส่งที่พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอันทรงคุณค่าเพื่อสุขภาพอนามัยของปวงชนชาวไทย

 

7) เรื่องทองแดง = The story of thongdaeng

 

ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

 

เรื่องทองแดง.png

 

Call no. SF427 ภ671ร 2546 

His Majesty King Bhumibol Adulyadej Biography of a Pet Dog.
“พระราชนิพนธ์เล่มใหม่ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล่าถึงเรื่องราวความเป็นมา ความแสนรู้เฉลียวฉลาด และรู้ภาษาของ “ทองแดง” สุนัขตัวโปรดของพระองค์ ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ ในพระราชนิพนธ์ 2 ภาษาเล่มนี้ทรงเล่าตั้งแต่ประวัติความเป็นมาของ “แม่แดง” ซึ่งเป็นแม่ของทองแดง พี่น้องของทองแดง เหตุการณ์วันที่ทองแดงได้เข้าเฝ้าฯ ถวายตัว ลักษณะพิเศษของทองแดง อุปนิสัยใจคอและความฉลาดของทองแดง ซึ่งยากที่จะมีสุนัขตัวใดเสมอเหมือน นอกจากนี้ ยังทรงเล่าถึงความจงรักภักดี ความกตัญญูรู้คุณ การรู้จักสอนลูกๆ ของตัวเอง ความมีมารยาทเรียบร้อยมีสัมมาคารวะ และความสามารถพิเศษของทองแดง ทุกเรื่องทรงยกตัวอย่างและมีภาพให้เห็นอย่างชัดเจน ภาพประกอบสี่สีทั้งหมดในเล่มร่วมหนึ่งร้อยภาพ ล้วนเป็นภาพที่หาดูที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว เป็นภาพที่น่าประทับใจทั้งสิ้น ”

 

8) พระมหาชนก = The story of Mahajanaka

 

ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

 

พระมหาชนก.png

 

Call no. BQ1470.M3594 ช512 2552 

พระราชนิพนธ์ที่เป็นของขวัญพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย เนื่องในพระราชวโรกาสกาญจนาภิเษกในปี พ.ศ.2539 โดยมีพระราชประสงค์ให้เป็นเครื่องเตือนสติคนไทยให้มีความวิริยะอุตสาหะ ตื่นจากการหลงใหลและมัวเมาในสิ่งที่บั่นทอนชีวิต ให้หันกลับมามีสติ ขยันหมั่นเพียร เพื่อความสุขและความสำเร็จในหน้าที่การงาน หนังสือเล่มนี้แสดงให้เห็นพระวิริยะบารมี ซึ่งเป็นแบบอย่างของความเพียรพยายามที่ต่อเนื่อง เข้มแข็ง และสะท้อนถึงความกล้าหาญในการกระทำสิ่งที่ถูกต้องและชอบธรรม เพื่อความผาสุกของราษฎร และผลประโยชน์ของส่วนรวม

พระองค์ท่านทรงปรับปรุงอรรถกถาให้กระชับ เข้าใจง่ายและมีจินตนาการสร้างสรรค์ ให้ผู้อ่านเกิดความรื่นรมย์ พร้อมกับการเข้าถึงธรรมะ อันเป็นหลักสำคัญของหนังสือ ทรงให้มีการจัดหน้าแบบหนังสือเทพนิยาย และให้มีภาพเขียนประกอบที่งดงามทุกหน้าด้วยฝีมือของศิลปินระดับชาติ และบรรยายภาพทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

 

9) พระมหากษัตริย์นักวิทยาศาสตร์ นักเทคโนโลยีและนักนวัตกรรม

 

สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

พระมหากษัตริย์นักวิทยาศาสตร์-นักเทคโนโลยีและนักนวัตกรรม.png

 

Call no. Ref. Q149.T5 พ357 2550 

ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่นี้ ทางสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดทำหนังสือเฉลิมพระเกียรติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ที่มีความเป็นนักวิทยาศาสตร์ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทุกโครงการที่พระราชทานมาเพื่อให้ราษฎรมี ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในทุกๆ ด้านนั้น เมื่อศึกษาในแต่ละโครงการ จะพบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ทรงสังเกต ทดลอง และสรุปผลก่อนจะพระราชทานเป็นโครงการต่าง ๆ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นครู ทรงเป็นต้นแบบของการเรียนรู้แบบองค์รวมจากสิ่งรอบตัว แม้จะเป็นนักวิทยาศาสตร์หรือไม่ก็ตาม สามารถนำไปปฏิบัติตามได้ทั้งสิ้น

 

10) พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

 

มณทิพย์ เจตยะคามิน

 

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน.jpg

 

Call no. DS586 พ433 2554 

เมื่อปีพ.ศ. 2554 ซึ่งนับเป็นปีมหามงคลที่กระทรวงศึกษาธิการได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชสมัญญาให้พระองค์ว่า พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน” เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 84 พรรษา ที่พระองค์ทรงอุทิศพระวรกายและสติปัญญาให้กับประเทศชาติและประชาชน โดยไม่ย่อท้อหรือลดละความพยายามในการที่จะนำความสุขและความสงบยั่งยืนมาสู่พสกนิกรชาวไทยทุกคน และนอกจากนี้ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครู พระองค์ก็ได้ทรงประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีอันประเสริฐล้ำค่าแก่ผู้ประกอบอาชีพครู และทรงย้ำเน้นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนมีพื้นฐานของความเป็นครู จะได้มีความสนใจ และได้เรียนตามความถนัดที่แตกต่างกัน ได้เรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย พระองค์ทรงเน้นการสาธิต การทดลอง การแก้ปัญหาจริง การลงมือปฏิบัติจริง ศึกษา ค้นคว้าสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเอง อย่างต่อเนื่องและที่สำคัญพระองค์ทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกล ซึ่งทรงมีพระราชดำริให้มีการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ทุกโรงเรียนจะได้ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ และประสบความสำเร็จในการศึกษาทรงเป็นบุคลากรที่ทรงคุณค่าต่อการพัฒนาประเทศมากมาย ดังพระราชดำรัสที่ได้กล่าวว่า “ ผู้ที่เป็นครูจะต้องถือเป็นหน้าที่อันดับแรก ที่จะต้อง ให้การศึกษา คือ สั่งสอนอบรมอนุชนให้ได้ผลแท้จริง ทั้งในด้านวิชาความรู้ ทั้งในด้านจิตใจ และในด้านความประพฤติ อีกทั้งต้องคิดว่างานที่แต่ละคนกำลังทำอยู่นี้คือความเป็นความตายของประเทศ เพราะอนุชนที่มีความรู้ความดีเท่านั้นที่จะสามารถรักษาชาติบ้านเมืองเอาไว้ได้ ”