หนังสือหลักราชการ

 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

หลักราชการ.png

 

หนังสือหลักราชการ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ และพิมพ์พระราชทานแจกข้าราชการ ในการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์ พระพุทธศักราช 2457 

ตัวอย่างเนื้อหา ในสมัยปัตยุบันนี้ ใครๆ ก็ย่อมทราบอยู่แล้วว่า การศึกษาจำเริญขึ้นมากกว่าในเวลาก่อน ๆ นี้เป็นอันมาก และมีตำราสำหรับสอนศิลปะแลวิทยาแทบทุกอย่าง เหตุฉนี้จึงทำให้คนบางจำพวกหลงไปว่า “รู้อะไรก็ไม่สู้รู้วิชา” และด้วยความหลงอันนี้จึงเลยทำให้หลงเลยนึกต่อไปว่า ไม่ว่าจะทำการในน่าที่ใดๆ ข้อสำคัญมีอยู่อย่างเดียวแต่เพียงจะพยายามให้ได้คะแนนมากๆ ทุกคราวที่สอบไล่ในโรงเรียน และให้ได้ประกาศนิยบัตรหลายๆ ใบ แล้วพอออกจากโรงเรียนก็เป็นอันจะไม่ต้องพยายามทำอะไรอีกต่อไป ทั้งลาภ ทั้งยศ ทั้งทรัพย์ จำจะต้องหลั่งมาไหลมาทีเดียว

 

พระบรมราชาธิบายเรื่องสามัคคี พระราชนิพนธ์

 

กระทรวงวัฒนธรรม

 

พระบรมราชา.png

 

หนังสือเล่มนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เมื่อประมาณพุทธศักราช 2446 เพื่อทรงอธิบายขยายความคาถา ซึ่งจารึกอยู่ในตราอาร์มอันเป็นพระราชลัญจกรประจำแผ่นดินที่ใช้ในรัชกาลที่ 5 คาถาที่จารึกไว้เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฑราช (สา ปุสฺสเทว) ความว่า “สพฺเพสํ สงฺฆภูตานํ สามคฺคี วุฑฺฒิสาธิกา” แปลว่า “ความพร้อมเพรียงแห่งชนผู้เป็นหมู่แล้วทั้งหลาย ทั้งปวง ให้ความเจริญสำเร็จ” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงอธิบายให้เห็นว่า การจะบำรุงประเทศชาติให้เจริญสำเร็จได้จะต้องอาศัยทั้งความสามัคคี ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และความวิริยอุตสาหะที่จะดำเนินงานให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย ไม่ทอดทิ้งและสมควรดำเนินการโดยสายกลาง แม้ว่าพระองค์จะทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเล่มนี้เป็นเวลานานถึง 104 ปีแล้วก็ตาม แต่สามารถนำหลักการมาใช้ในปัจจุบัน ทั้งจะเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราโชบายในการทำนุบำรุงประเทศชาติ และเสริมสร้างความเจริญเพื่อให้ทัดเทียมกับประเทศอื่นอย่างสุขุมรอบคอบ ทรงตระหนักชัดในลักาณะเฉพาะของชาติไทย ตลอดจนเหตุผลอันเป็นองค์ประกอบสำคัญในการบริหารบ้านเมือง นับเป็นพระอัจฉริยภาพอันสูงส่ง 

ตัวอย่าง พระบรมราชาธิบายว่าด้วยความสามัคคี

ตัวอย่าง หน้าที่ 1
ตัวอย่าง หน้าที่ 2-3
ตัวอย่าง หน้าที่ 4-5

 

แนวความคิดและวิธีการสื่อสารการเมือง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่าง พ.ศ. 2468 ถึง พ.ศ.2477

 

พรทิพย์ ดีสมโชค

 

แนวความคิด.png

 

หนังสือเรื่อง “แนวความคิดและวิธีการสื่อสารการเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่าง พ.ศ. 2468 ถึง พ.ศ.2477” ของรองศาสตราจารย์ ดร.พรทิพย์ ดีสมโชค นี้ เป็นผลงานวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ทางนิเทศศาสตร์ จึงนับเป็นองค์ความรู้อีกส่วนหนึ่ง ได้สำแดงให้เห็นว่าพัฒนาการทางการสื่อสารมวลชนโดยเฉพาะสื่อหนังสือพิมพ์และภาพยนตร์ที่เป็นสื่อกระแสหลักในห้วงสมัยนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องเอาพระทัยใส่ในการดำเนินนโยบายของรัฐให้เหมาะสม และสอดประสานกับพระราชประสงค์ในการเคลื่อนอย่างเป็นขั้นเป็นตอนสู่ระบอบประชาธิปไตย