July 2011

 

ติโต Tito

 

ออตี, ฟิลลิส

 

tito.png

 

Call no. DR1305.T5 อ446ต 2554 

“ติโต” เป็นพระราชนิพนธ์ที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษเรื่อง “Tito” ของ Phyllis Auty ทรงแปลเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ เพื่อให้ข้าราชบริพารได้ทราบถึงอัจฉริยะของบุคคลผู้นี้ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับ ลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายเพื่อหารายได้สมทบทุนมูลนิธิชัยพัฒนา พระราชนิพนธ์เรื่องนี้ เพียงระยะเวลาระหว่างวันที่ ๕ – ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ พระราชนิพนธ์เรื่องนี้มีสถิติการพิมพ์ถึง ๕ ครั้ง ครั้งละ ๑๐,๐๐๐ เล่ม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอาพระราชหฤทัยใส่ในการทรงแปลเรื่องนี้ ด้วยพระวิริยะอุตสาหะเป็นอย่างยิ่ง

บทที่ 1 : บุคคลและศตวรรษ
บทที่ 2 : ทหารลูกทุ่ง
บทที่ 3 : แผ่นดินใหม่
บทที่ 4 : ศิลปะการเรียนรู้
บทที่ 5 : เตรียมรับศึก
บทที่ 6 : แสวงหาพันธมิตร
บทที่ 7 : แม่ทัพใหญ่
บทที่ 8 : ผู้นำทางการเมือง
บทที่ 9 : ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
บทที่ 10 : สำเร็จกิจปฏิวัติ

 

นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ

 

สตีเวนสัน, วิลเลียม

 

นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ.png

 

D743 ส172น 2554 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระวิริยะอุตสาหะ ทรงใช้เวลาว่างวันละเล็กละน้อยเพื่อทรงแปลเรื่อง “นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ” จากต้นฉบับภาษาอังกฤษเรื่อง “A Man Called Intrepid” ของ William Stevenson เป็นเวลาประมาณ ๓ ปี ระหว่างวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐ ถึงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ จึงจบบริบูรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เคยพระราชทานแก่ผู้ทรงรู้จักคุ้นเคยเมื่อทรงแปลเสร็จ ครั้นต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน) จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายเพื่อหารายได้สมทบทุนมูลนิธิชัยพัฒนา เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖๖ พรรษา ใน วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นหนังสือขนาด ๘ หน้ายกมาตรฐาน หนา ๖๐๓ หน้า มีสถิติการพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๖ – ๒๕๓๗ ถึง ๑๒ ครั้ง ครั้งละ ๑๐,๐๐๐ เล่ม

ตัวอย่างพระราชนิพนธ์แปล

Who is the happy Warrior…
That every man in arms would wish to be?
–It is the generous spirit …
Who, doomed to go in company with Pain,
And Fear, and Bloodshed …
Turns his necessity to glorious gain …
And in himself possess his own desire …
And therefore does not stoop, nor lie in wait
For wealth, or honors, or for worldly state …
And, through the heat of conflict, keeps the law
In calmness made, and sees what he foresaw.
นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ
นักรบใด ใจมั่น พลันเริงร่า ถ้วนทหาร ปรารถนา เป็นเช่นเขา
สู้สุดฤทธิ์ ในกิจ ทั้งหนักเบา ยอมรับเอา ด้วยมโน อันโอฬาร์
เป็นเกลอกับ ทุกข์กล้า แสนสาหัส อันตราย สารพัด ไม่หน่ายหน้า
ถึงขามจิต โลหิตซับ กับพสุธา ใจเย็นได้ ไม่ว้า หวั่นพะวง
แลเห็นความ ลำเค็ญ เป็นประโยชน์ อันช่วงโชติ ชวลิต น่าพิศวง
ตั้งจิตไว้ ไม่พรั่น ด้วยมั่นคง และอาจอง ทะนงรัก ศักดิ์แห่งตน
ไม่ยอมลด กายใจ ให้ต่ำต้อย เพื่อจะคอย ตวงตัก แม้สักหน
ซึ่งยศศักดิ์ อัครฐาน ศฤงคารตน หมายเทิดผล คือความดี ที่ศรัทธา
กฎอันใด แม้วางไว้ ในยามสงบ ปองเคารพ ชูเชิด ให้เจิดจ้า
ดำเนินตาม ที่เห็นชัด ในหัทยา ว่าเป็นภา-ระเลิศ ประเสริฐจริง