Her Royal Highness Princess Chulabhorn Krom Phra Srisavangavadhana graciously went to the main auditorium on level 2 of the Chulabhorn Graduate Institute building to deliver her third lecture on cancer incidence

On Thursday 26 January 2023 at 12:00 hours Her Royal Highness Princess Chulabhorn Krom Phra Srisavangavadhana graciously went to Chulabhorn Graduate Institute to give her third lecture for academic year 2022 to the students of the environmental toxicology and applied biological sciences: environmental health programs at both Master’s and doctoral degree levels.

The topic of her lecture was “The Control of Cell Multiplication and Apoptosis and Cancer Cell Metabolism”. This topic involves the importance of cell cycle or the cycle of cell multiplication, which comprises four stages, at each of which there is a point for checking and controlling the accuracy and quality of the working of cells. It is also related to the importance of the process of sending signals to the cells leading to their responses and their entry into senescence and apoptosis. Normally, the human body will control this process in order to maintain its balance. Any abnormality happening to this control will lead to incidence of cancer cells.

The fact that the cancer cells continually multiply themselves necessitates an adjustment in the process of cell biology, which consists of a series of reactions resulting in adjustment to maintain the balances in the human body. This leads to changes requiring greater amounts of nutrients into the body for the creation of necessary substances as well as energy sufficient for the needs of cancer cells. Understanding of cell biology of cancer and the mechanisms in each stage or process of the growth and multiplication of cells provides a crucial basis for the development of diagnostic methods and medicine for effective treatment of cancer.

Her lecture also involved the topic on “The Mechanisms Giving Rise to Cancer Pathology at the Molecular and Cell Levels: Keys to Future Treatment”. At present, a technique involving a check of genetic changes and symptoms in each patient has been used, which can differentiate each type of cancer at the genetic level. This has resulted in accurate prediction of disease infection and helped the doctor in selecting a treatment plan and medicine that are well suited to the change in the disease patterns, eventually leading to more effective treatment of it. Her Royal Highness cited the case of the original development of the medicine Gleevec for the treatment of chronic leukemia. This was the first type of medicine that proved successful in cancer treatment that resulted from a targeted effort to find genetic information that was highly specific to cancer. This subsequently led to the development of medicine for the treatment of cancer cells at the different parts of the body and to future medical progress in fighting cancer.

Knowledge on cancer incidence: oncogenesis, which Her Royal Highness Princess Chulabhorn Krom Phra Srisavangavadhana imparted to the students of the two programs, formed an understanding starting from the basis for the incidence of the disease and the mechanisms giving rise to cancer pathology, leading further to methods of cancer diagnosis from its primary stage, and finally to the development of medicine for targeted treatment. This represented a promise for more effective treatment and definitive healing.

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จไปยังห้องประชุมใหญ่ ชั้น ๒ อาคารสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ทรงบรรยายเรื่อง การเกิดโรคมะเร็ง ครั้งที่ ๓

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๒.๐๐ น. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จไปยังอาคารสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ทรงบรรยาย เรื่อง การเกิดโรคมะเร็ง : อองโคจีเนซิส (Oncogenesis) พระราชทานแก่นักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ชั้นปีที่ ๑ และ ๒ สาขาวิชาพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพประยุกต์ : อนามัยสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ เป็นครั้งที่ ๓

โดยทรงบรรยายในหัวข้อ “การควบคุมการเพิ่มจำนวนของเซลล์และการเกิดเซลล์ตาย และ เมแทบอลิซึม (Metabolism) ของเซลล์มะเร็ง” เกี่ยวกับความสำคัญของวัฏจักรของเซลล์ หรือวงจรการแบ่งตัวของเซลล์ ซึ่งมี ๔ ระยะ แต่ละระยะจะมีจุดที่ตรวจสอบและควบคุมความถูกต้อง และคุณภาพการทำงานของเซลล์ ความสำคัญของกระบวนการส่งสัญญาณเข้าสู่เซลล์ ที่นำไปสู่การตอบสนองของเซลล์ ภาวะที่เซลล์เข้าสู่ความชราภาพ หรือ ซีเนสเซนส์ (senescence) และอะพอพโตชิส (apoptosis) หรือ กระบวนการตาย ซึ่งปกติร่างกายจะควบคุมให้มีความสมดุล หากเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับการควบคุมจะนำไปสู่การเกิดมะเร็งได้

การที่เซลล์มะเร็งแบ่งตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำเป็นต้องปรับรูปแบบกระบวนการทางชีววิทยาของเซลล์ ซึ่งประกอบด้วยปฏิกิริยาต่าง ๆ ตามลำดับเพื่อรักษาสมดุลในร่างกาย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้นำเข้าสารอาหารเพิ่มมากขึ้น สำหรับนำไปสร้างสารที่จำเป็น รวมถึงพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการของเซลล์มะเร็ง ความเข้าใจเรื่องชีววิทยาของเซลล์มะเร็ง ตลอดจนกลไกในแต่ละขั้นตอน หรือกระบวนการเจริญเติบโต การเพิ่มจำนวนเซลล์ จะเป็นพื้นฐานสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาวิธีการวินิจฉัยโรคมะเร็ง การพัฒนายา และการรักษาที่มีประสิทธิภาพ

ส่วนหัวข้อ “กลไกการเกิดพยาธิสภาพ ของมะเร็งในระดับโมเลกุล และระดับเซลล์ : กุญแจไปสู่การรักษาในอนาคต” ซึ่งปัจจุบัน มีการใช้เทคนิคการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลง และแสดงออกของยีนต่าง ๆ ในผู้ป่วยแต่ละคน ที่แยกความแตกต่างของมะเร็งแต่ละชนิดในระดับยีนได้ ทำให้การพยากรณ์โรคมีความแม่นยำ ช่วยให้แพทย์เลือกแผนการรักษาและยาที่ตรงกับการเปลี่ยนแปลงของโรค ทำให้ผลการรักษาดีขึ้น ทรงยกตัวอย่างความเป็นมาของการพัฒนายา กลีเวค (Gleevec) ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดชนิดเรื้อรัง ซึ่งถือเป็นยาตัวแรกที่พิสูจน์ความสำเร็จของการรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้าข้อมูลพันธุกรรมที่จำเพาะมากของมะเร็ง ทำให้มีการพัฒนาหาแนวทางการรักษาด้วยยาตำแหน่งต่างกันในเซลล์มะเร็ง อันนำไปสู่ความก้าวหน้าทางการแพทย์ด้านมะเร็งในอนาคต

ความรู้เรื่อง “การเกิดโรคมะเร็ง : อองโคจีเนซิส” ที่ทรงบรรยายได้สร้างความรู้ความเข้าใจตั้งแต่พื้นฐานการเกิดโรค กลไกการเกิดพยาธิสภาพของมะเร็ง ที่จะนำไปสู่การพัฒนาวิธีการวินิจฉัยโรคมะเร็ง ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น จนถึงการพัฒนายาที่มีคุณสมบัติเฉพาะเพื่อนำไปสู่การรักษาแบบมุ่งเป้า ซึ่งเป็นความหวังที่จะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น และอาจทำให้หายขาดได้

ที่มา: ข่าวในพระราชสำนัก ช่อง ๗

รูป: สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์