2.1.jpg

Professor Dr. Her Royal Highness Princess Chulabhorn Krom Phra Srisavangavadhana graciously went to deliver the second of the lecture series on the formation of cancer at the Main Auditorium on level 2 of the Chulabhorn Graduate Institute building.

 

On 9 February 2024 at 12:04 PM Professor Dr. Her Royal Highness Princess Chulabhorn Krom Phra Srisavangavadhana graciously went to deliver the second of the lecture series on the formation of cancer: oncogenesis at the Main Auditorium on level 2 of the Chulabhorn Graduate Institute building. The lecture was given to the faculty members, the first-year Master’s degree and doctoral students and the second-year Master’s degree and doctoral students of the Environmental Toxicology Program and the Applied Biological Sciences: Environmental Health Program of Chulabhorn Graduate Institute.

Professor Dr. Her Royal Highness Princess Chulabhorn Krom Phra Srisavangavadhana took the initiative in establishing Chulabhorn Graduate Institute for the purpose of developing the personnel with a high level of knowledge and competency in research. The Institute offers international programs at the Master’s degree and doctoral levels, which integrate bodies of knowledge in related subjects, and which focus on research-led teaching. The graduates of these study programs will be able to impart concrete research-based knowledge in a practical manner, which can be usefully applied to national development. While studying in the study programs, they work in collaboration with Chulabhorn Graduate Institute, which is well equipped with researchers whose works have been published in international journals and state-of-the-art scientific instruments. There are examples of research works that have been further innovatively developed into biologics that have been used in treating cancer.

The Institute’s academic staff is comprised of both Thai and foreign experts from the world’s leading universities and institutions, including, among others, the Massachusetts Institute of Technology or, as it is widely known, the MIT, and Johns Hopkins University in the United States of America; and Utrecht University in the Netherlands. The Institute’s doctoral students also have an opportunity for research training at an Institution or a university overseas and admission to a dual-degree program, from which they will graduate with two degrees, one from Chulabhorn Graduate Institute and the other from an overseas university which is the program partner. The universities which are partners to the dual degree program are Utrecht University in the Netherlands and Chiba University in Japan.

Today Her Royal Highness gave the second lecture on oncogenes and the control of cell growth and tumor suppressor genes, which have a crucial role in the process of cancer formation. When mutation occurs in the genes that control cell growth, transforming them into oncogenes, a rapid and uncontrollable cell proliferation will follow, eventually resulting in the genesis of cancer cells. Her Royal Highness cited the case of the tumor suppressor genes p53, whose mutation is most frequently found in human cancers. Understanding of these genes, as well as the mechanisms and changes at the cellular and genetic levels, is a crucial basis leading to the development of the methods of cancer diagnosis. Such a development will, in turn, lead to new approaches to the treatment of the disease, which is directly relevant to its characteristics and medicinal treatment, as well as to the development of more effective medicine and treatment.

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จไปยังห้องประชุมใหญ่ ชั้น ๒ อาคารสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ทรงบรรยายเรื่อง การเกิดโรคมะเร็ง เป็นครั้งที่ ๒

 

เมื่อวันศุกร์ที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เวลา 12.04 น. ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จไปยังห้องประชุมใหญ่ ชั้น ๒ อาคารสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ การเกิดโรคมะเร็ง : อองโคจีเนซิส (Oncogenesis) พระราชทานแก่คณาจารย์ และนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ชั้นปีที่ ๑ และ ๒ สาขาวิชาพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม และวิทยาศาสตร์ชีวภาพประยุกต์: อนามัยสิ่งแวดล้อม ของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ เป็นครั้งที่ ๒

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงก่อตั้ง สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ขึ้น เพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการทำวิจัย เป็นหลักสูตรนานาชาติ เปิดสอนระดับปริญญาโท และปริญญาเอก โดยจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการองค์ความรู้สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกัน ใช้การวิจัยนำ สามารถถ่ายทอดความรู้เป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ และนำผลงานวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศ โดยทำงานร่วมกับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งมีนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย โดยมีตัวอย่างงานวิจัยที่ได้พัฒนากระบวนการต่อยอดสู่นวัตกรรมทางด้านชีววัตถุ เพื่อใช้ประโยชน์ในการรักษาโรคมะเร็ง

คณาจารย์ผู้สอนมีทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศที่มาจากมหาวิทยาลัยและสถาบันชั้นนำในระดับแนวหน้าของโลก อาทิ สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาจูเซ็ท หรือที่รู้จักกันในนามสถาบันเอ็มไอที มหาวิทยาลัยจอห์นฮอฟกินส์ จากสหรัฐอเมริกา และ มหาวิทยาลัยอูเทร็ค จากประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น นักศึกษาปริญญาเอกยังมีโอกาสไปฝึกทำการวิจัยในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันต่างประเทศ ทั้งยังมีโอกาสเข้าโครงการ dual degree คือได้รับปริญญา ๒ ใบจากสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ และมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่ร่วมโครงการ ได้แก่ มหาวิทยาลัยอูเทร็ค ประเทศเนเธอร์แลนด์ และมหาวิทยาลัยชิบะ ประเทศญี่ปุ่น

ในวันนี้ ทรงบรรยายเรื่อง การเกิดโรคมะเร็ง เป็นครั้งที่ ๒ ในหัวข้อ ยีนก่อมะเร็งกับการควบคุมการเจริญของเซลล์ และ ยีนยับยั้งการเกิดมะเร็ง ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการเกิดมะเร็ง เมื่อเกิดการกลายพันธุ์ของของยีนที่ควบคุมการเจริญของเซลล์ ไปเป็นยีนก่อมะเร็ง จะส่งผลให้เซลล์มีการแบ่งตัวแล้วเจริญอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถควบคุมได้ และทำให้เกิดเซลล์มะเร็งในที่สุด โดยได้ยกตัวอย่าง ยีนยับยั้งการเกิดมะเร็ง p53 (อ่านว่า พี-ฟีฟตี้-ธรี) ซึ่งพบว่า มีการกลายพันธุ์ของยีนนี้บ่อยที่สุดในมะเร็งที่พบในคน ความเข้าใจในเรื่องยีนเหล่านี้ ตลอดจนกลไกและความเปลี่ยนแปลงในระดับเซลล์ และระดับยีน จะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาวิธีการวินิจฉัยโรคมะเร็ง ที่จะนำไปสู่การรักษาในแนวใหม่ ที่จะตรงกับลักษณะของโรค โดยเป็นเป้าหมายในการใช้ยาที่ตรงเป้า ไปจนถึงการพัฒนายาและการรักษาที่มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น

ขอขอบคุณภาพข่าว : สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5