8632-1.jpg

Professor Dr. Her Royal Highness Princess Chulabhorn Krom Phra Srisavangavadhana graciously delivered a special lecture online for students of Chulabhorn Graduate Institute

On Thursday 15 February 2024 at 1:00 PM, Professor Dr. Her Royal Highness Princess Chulabhorn Krom Phra Srisavangavadhana graciously went to present the third of her special lecture series on the formation of cancer: oncogenesis to the faculty members, the first-year Master’s degree and doctoral students and the second-year Master’s degree and doctoral students of the Environmental Toxicology Program and the Applied Biological Sciences: Environmental Health Program of Chulabhorn Graduate Institute. This lecture was delivered through Zoom Cloud Meeting at the Main Hall on level 10 of the Oncology Medical Center building and the Main Auditorium on level 2 of the Chulabhorn Graduate Institute building.

Professor Dr. Her Royal Highness Princess Chulabhorn Krom Phra Srisavangavadhana graciously took the initiative in establishing Chulabhorn Graduate Institute for the purpose of developing the personnel with a high level of knowledge and competency in research. The Institute offers international programs at the Master’s degree and doctoral levels, which integrate bodies of knowledge in related subjects, and which focus on research-led teaching. The graduates of these study programs will be able to impart concrete research-based knowledge in a practical manner, which can be usefully applied to national development. While studying in these study programs, they work in collaboration with Chulabhorn Graduate Institute, which is well equipped with researchers whose works have been published in international journals and state-of-the-art scientific instruments. There are examples of research works that have been further innovatively developed into biologics that have been used in treating cancer.

The Institute’s academic staff is comprised of both Thai and foreign scholars from the world’s leading universities and institutions, including, among others, the Massachusetts Institute of Technology or, as it is widely known, the MIT, and Johns Hopkins University in the United States of America; and Utrecht University in the Netherlands. The Institute’s doctoral students also have an opportunity for research training at an institution or a university overseas and for admission to a dual-degree program, from which they will graduate with two degrees, one from Chulabhorn Graduate Institute and the other from an overseas university which is the program partner. The universities which are partners to the dual degree program are Utrecht University in the Netherlands and Chiba University in Japan.

The topic of Her Royal Highness’s lecture today was “the Mechanisms Causing Pathological Conditions for the Cellular and Molecular Bases of Cancer: The Key to Future Treatment of the Disease”. At present, a technique for detecting genetic transformations and manifestations in each patient is used to differentiate types of cancer at the genetic level for accurate prediction of cancer formation and for the physician to decide on a treatment and medication plan that is appropriate for the changing character of the disease, and that will make the treatment more effective. Her Royal Highness cited the example of the development of Gleevec – a medication to treat chronic leukemia, which has proved effective in a targeted treatment of cancer with the use of highly specific genetic information on cancer. This has resulted in the search for the medication to treat cancer at different targets in the cancer cells, which is expected to lead to medical advances in oncology.

The lecture topic, the “formation of cancer: oncogenesis”, of Her Royall Highness’s three lectures has provided knowledge and understanding from the fundamental level of the mechanisms causing pathological conditions for cancer. This will in turn result in the development of methods for oncological diagnosis from its primary stage, and then in the development of the medication with specific attributes for a targeted treatment of cancer. This holds out high hope for more effective treatment in the future.

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงบรรยายพิเศษพระราชทานแก่ นักศึกษาสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ผ่านสื่อออนไลน์

วันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗) เวลา 12.54 น. ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จทรงบรรยายพิเศษ เรื่อง การเกิดโรคมะเร็ง : อองโคจีเนซิส (Oncogenesis) พระราชทานแก่คณาจารย์ และนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ชั้นปีที่ ๑ และ ๒ สาขาวิชาพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพประยุกต์ : อนามัยสิ่งแวดล้อม ของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ เป็นครั้งที่ ๓ ณ ห้องโถง ชั้น 10 อาคารศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ และห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงก่อตั้ง สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ขึ้น เพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการทำวิจัย เป็นหลักสูตรนานาชาติ เปิดสอนระดับปริญญาโท และปริญญาเอก โดยจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการองค์ความรู้สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกัน ใช้การวิจัยนำ สามารถถ่ายทอดความรู้เป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ และนำผลงานวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศ โดยทำงานร่วมกับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งมีนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย โดยมีตัวอย่างงานวิจัยที่ได้พัฒนากระบวนการต่อยอดสู่นวัตกรรมทางด้านชีววัตถุ เพื่อใช้ประโยชน์ในการรักษาโรคมะเร็ง

คณาจารย์ผู้สอนมีทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศที่มาจากมหาวิทยาลัยและสถาบันชั้นนำในระดับแนวหน้าของโลก อาทิ สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาจูเซ็ท หรือที่รู้จักกันในนามสถาบันเอ็มไอที มหาวิทยาลัยจอห์นฮอฟกินส์ จากสหรัฐอเมริกา และ มหาวิทยาลัยอูเทร็ค จากประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น นักศึกษาปริญญาเอกยังมีโอกาสไปฝึกทำการวิจัยในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันต่างประเทศ ทั้งยังมีโอกาสเข้าโครงการ dual degree คือ ได้รับปริญญา ๒ ใบจากสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ และมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่ร่วมโครงการ ได้แก่ มหาวิทยาลัยอูเทร็ค ประเทศเนเธอร์แลนด์ และมหาวิทยาลัยชิบะ ประเทศญี่ปุ่น

ในวันนี้ ทรงบรรยายหัวข้อ “กลไกการเกิดพยาธิสภาพ ของมะเร็งในระดับโมเลกุล และระดับเซลล์ : กุญแจไปสู่การรักษาในอนาคต” ซึ่งในปัจจุบัน มีการใช้เทคนิคการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงและการแสดงออกของยีนต่าง ๆ ในผู้ป่วยแต่ละคน ที่แยกความแตกต่างของมะเร็งแต่ละชนิดในระดับยีนได้ ทำให้การพยากรณ์โรคมีความแม่นยำ ช่วยให้แพทย์เลือกแผนการรักษาและยาที่ตรงกับการเปลี่ยนแปลงของโรค ทำให้ผลการรักษาดีขึ้น ทรงยกตัวอย่างความเป็นมาของการพัฒนายา กลีเวค (Gleevec) ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดชนิดเรื้อรัง ซึ่งถือเป็นยาตัวแรกที่พิสูจน์ความสำเร็จของการรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า โดยใช้ข้อมูลพันธุกรรมที่จำเพาะมากของมะเร็ง ทำให้มีการพัฒนาหาแนวทางการรักษาด้วยยาตำแหน่งต่างกันในเซลล์มะเร็ง อันนำไปสู่ความก้าวหน้าทางการแพทย์ด้านมะเร็งในอนาคต

ความรู้เรื่อง “การเกิดโรคมะเร็ง : อองโคจีเนซิส” ที่ทรงบรรยายทั้ง 3 ครั้งนี้ ได้สร้างความรู้ความเข้าใจตั้งแต่พื้นฐานการเกิดโรค กลไกการเกิดพยาธิสภาพของมะเร็ง ที่จะนำไปสู่การพัฒนาวิธีการวินิจฉัยโรคมะเร็ง ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น จนถึงการพัฒนายาที่มีคุณสมบัติเฉพาะเพื่อนำไปสู่การรักษาแบบมุ่งเป้า ซึ่งเป็นความหวังที่จะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิม