Chulabhorn Graduate Institute arranged a Science Education – STEM program through a learning activity “Developing and Creating Learning Experiences to Achieve Excellence in Science and Artificial Intelligence”
Chulabhorn Graduate Institute has delivered its learning program “Science Education – STEM” to promote the study of this field for upper-secondary students and the teachers who supervised the student teams participating in the program. The program, which featured a learning activity consisting of “developing and creating learning experiences to achieve excellence in science and artificial intelligence (AI)”, was held on 3-4 August 2024 at the main auditorium on level 2 of the Chulabhorn Graduate Institute building. The purpose of the program was to provide the participants in the activity with knowledge and understanding of the use of AI platforms. Such knowledge and understanding would in turn contribute to the application of technology to the development and integration science and technology, as well as to enable the participants to apply AI to various uses. Assoc. Prof. Dr.Thanuttkhul Mongkolaussavarat, Vice Rector of Chulabhorn Graduate Institute, presided over the opening of this science education program, for which Asst. Prof. Dr. Thitinat Sukonket, Dean of the Faculty of Science and Technology of Suan Dusit University, kindly accepted to serve as the resource person, together with nine other persons in this capacity, who provided training in the use of AI platforms.
This learning program, which featured more than 50 participants, was the 13th activity of its kind organized for the academic year 2024. The participants were divided into five-member teams, each of which was supervised by one school teacher. The teachers who served this function came from several schools, including Bodindecha (Sing Singhaseni) School, Debsirin School, Triamudomsuksanomklao School, Horwang School, Bodindecha (Sing Singhaseni) School 4, and Thakhlong 1 Municipal School Pathum Thani. The expected result of this learning activity is that its participants will be able to apply AI information technology platforms to their learning activities and enhancement of their expertise in AI technology. In addition, the learning activity will encourage the participants to engage in group activities, which will, in turn, develop them as AI leaders in response to the need for workforce in this technology for national development.
สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ จัดโครงการ Science Education – STEM ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ “พัฒนาและสร้างประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และปัญญาประดิษฐ์”
สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ได้จัดโครงการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ศึกษา Science Education – STEM ให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์และครูผู้ควบคุมทีม ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ “พัฒนาและสร้างประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และปัญญาประดิษฐ์” ระหว่างวันที่ 3 – 4 สิงหาคม 2567 ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้แพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ (AI: Artificial Intelligence) ช่วยในการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาและบูรณาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สนับสนุนผู้เรียนโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เข้ามาร่วมในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ธณัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ ผู้ช่วยอธิการบดีสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ให้การสนับสนุนคณะวิทยากร รวมทั้งสิ้น 9 ท่าน มาให้การอบรมด้านการใช้แพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ (AI: Artificial Intelligence)
การจัดกิจกรรมดังกล่าว เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ Science Education ครั้งที่ 13 ปีการศึกษา 2567 มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น กว่า 50 คน แบ่งกลุ่มเป็นทีมละ 5 คน พร้อมด้วยครูผู้ควบคุมทีม โรงเรียนละ 1 คน จาก โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า โรงเรียนหอวัง โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 4 และโรงเรียนเทศบาลท่าโขลง 1 จังหวัดปทุมธานี ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมคาดว่าผู้เข้ารับการอบรมสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศปัญญาประดิษฐ์ จากแพลตฟอร์มต่างๆ เข้ามาช่วยในการเรียนรู้และเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศปัญญาประดิษฐ์ได้ นอกจากนี้ ยังเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนผู้รับการอบรมได้ร่วมทำกิจกรรมกลุ่ม เป็นการพัฒนาเยาวชนให้เป็นผู้นำด้าน AI ตอบสนองความต้องการกำลังคน นำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |