Chulabhorn Graduate Institute hosted the Annual TRF Senior Research Scholars Group Meeting 2025

On 24 April 2025 at 9:00 AM-4:30 PM Chulabhorn Graduate Institute, in collaboration with the National Research Council of Thailand, organized the Annual TRF Senior Research Scholars Group Meeting 2025 at the main auditorium on the second floor of the Chulabhorn Graduate Institute building. Professor Emeritus Dr. Somsak Ruchirawat, Rector of Chulabhorn Graduate Institute, kindly presided over the opening of the meeting, which had the honor to welcome resource persons with high expertise in science as speakers, such as Professor Dr. Vatcharin Rukachaisirikul (Outstanding Scientist for 2023), as well as three Young Rising Stars of Science for 2024, who are among the World Top 2% Scientists in the same year, namely, Associate Professor Dr. Pakorn Watthana-Amorn, Associate Professor Dr. Sakda Khoomrung, and Assistant Professor Dr. Itthipol Chiranand. The final part of the meeting featured a dialogue and exchange of knowledge, during which recommendations were also provided, among distinguished scholars, faculty members, and students.

There were more than 100 participants in the Annual TRF Senior Research Scholar Group Meeting 2025. The purpose of the meeting was to provide an opportunity for researchers in the same fields, who are not in the senior research scholars’ teams, to join in the presentation of works and take part in the deliberations and exchanges of views among researchers. In addition, the participants also learned from the research experiences of distinguished scholars, researchers in the senior research scholars’ teams, faculty members, and students. The meeting in other words offered a valuable opportunity to learn from award-winning research achievements. Furthermore, the participants who are new instructors, new researchers, as well as students also had an opportunity to listen to and learn from new researchers who have achieved success in their research efforts, i.e., those who received Young Rising Stars of Science awards for 2024. All this would contribute to the development of new and mid-career researchers, and this would in turn result in a further build-up of academic and research performance. This goal could be achieved by encouraging the highly talented members of the new generations to assume greater interest in research activities, as well as by creating inter-institutional research networks of senior research scholars in Bangkok and those in the provincial areas. Such networks could be expected to further strengthen educational institutions in those areas.

สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ จัดประชุมเมธีวิจัยอาวุโสประจำปี 2568

วันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน 2568 เวลา 09.00 – 16.30 น. สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดการประชุมเมธีวิจัยอาวุโสประจำปี 2568 ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สมศักดิ์ รุจิรวัฒน์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในวงการวิทยาศาสตร์มาให้การบรรยาย อาทิ ศาสตราจารย์ ดร.วัชรินทร์ รุกขไชยศิริกุล (นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2566) รองศาสตราจารย์ ดร.ปกรณ์ วรรธนะอมร รองศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ดา คุ้มหรั่ง และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิทธิพล จีระพันธ์ ที่ได้รับรางวัลวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี พ.ศ.2567 และ World top 2% scientist ในปี 2567 เป็นต้น สำหรับช่วงท้ายเป็นการสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้พร้อมให้คำแนะนำ ระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิ อาจารย์ และนักศึกษา

การประชุมเมธีวิจัยอาวุโสประจำปี 2568 มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้นกว่า 100 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัยในสาขาเดียวกันซึ่งไม่ได้อยู่ในกลุ่มทีมวิจัย ได้ร่วมนำเสนผลงาน ร่วมรับฟัง และอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นงานวิจัยระหว่างกัน นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมยังได้เรียนรู้ประสบการณ์ด้านงานวิจัยระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิ ทีมวิจัยที่อยู่ในโครงการทุนเมธีวิจัยอาวุโส คณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา อันเป็นการเรียนรู้จากความสำเร็จด้านงานวิจัยที่ได้รับรางวัล นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมที่เป็นอาจารย์รุ่นใหม่ นักวิจัยรุ่นใหม่ ตลอดจนนักศึกษา ยังได้รับฟังและเรียนรู้จากนักวิจัยรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จด้านงานวิจัย ที่ได้รับรางวัลวิทยาศาสตร์ คนรุ่นใหม่ ปี 2567 อีกด้วย นับเป็นการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ และรุ่นกลาง เพื่อพัฒนาความสามารถทางวิชาการและงานวิจัย โดยกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่ ที่มีอัจฉริยภาพสูง ให้สนใจทำงานวิจัยมากขึ้น ตลอดจนช่วยสร้างเครือข่ายการวิจัยระหว่างสถาบันสำหรับเมธีวิจัยอาวุโสในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันการศึกษาในต่างจังหวัด อีกด้วย