Her Royal Highness Princess Chulabhorn Krom Phra Srisavangavadhana graciously went to the main auditorium on level 2 of the Chulabhorn Graduate Institute building to deliver her second lecture on cancer incidence

On 19 January 2023 at 12.56 hours Her Royal Highness Princess Chulabhorn Krom Phra Srisavangavadhana graciously went to Chulabhorn Graduate Institute to give her second lecture for academic year 2022 to the students of the environmental toxicology and applied biological sciences: environmental health programs at both Master’s and doctoral degree levels.

The topic of this lecture involved oncogenes, or cancer cells, and the control of the cell growth, as well as the genes that prevent cancer incidence. Cancer is caused by the mutation of cells that have divided themselves and rapidly and uncontrollably grow, and by the viruses intruding into cells and controlling the working of genes at the molecular level. It has been found that once the viruses have taken control of the genes, gene mutations will occur, together with the shift in the position of the chromosomes and a rapid multiplication of the genes.

Normally, cells will be controlled by a group of proteins, so that the cells divide themselves at an appropriate rate. If cell abnormalities take place, an anti-cancer incidence process happens that results in the abnormal cells automatically destroying themselves. In addition to the genes that cause cancer, there also exist various types of genes that contain the incidence of cancer. These genes function differently in the containment of the growth of cancer cells, for instance, the function of p53 is to create specific proteins through a complicated process, serving as a mechanism to monitor and intercept genetically abnormal cells. These are highly important genes that have been widely studied in patients suffering from esophageal cancer and colorectal cancer.

สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี เสด็จไปยังห้องประชุมใหญ่ ชั้น ๒ อาคารสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ทรงบรรยายเรื่อง การเกิดโรคมะเร็ง ครั้งที่ ๒

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๒.๕๖ น.  สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จไปยังห้องประชุมใหญ่ ชั้น ๒ อาคารสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ทรงบรรยายเรื่อง การเกิดโรคมะเร็ง พระราชทานนักศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอก สาขาวิชาพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม และวิทยาศาสตร์ชีวภาพประยุกต์ อนามัยสิ่งแวดล้อม ของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕ เป็นครั้งที่ ๒

โดยครั้งนี้ทรงบรรยายเรื่อง อองโคยีน หรือยีนมะเร็ง กับการควบคุมการเจริญของเซลล์ และเรื่องยีนยับยั้งการเกิดมะเร็ง สำหรับโรคมะเร็ง เกิดจากการกลายพันธุ์ของเซลล์ที่แบ่งตัว แล้วเจริญอย่างรวดเร็วไม่สามารถควบคุมได้ และเกิดจากไวรัสที่แทรกแซงเข้าไปในเซลล์ แล้วเข้าควบคุมการทำงานของยีนในเซลล์ปกติ จากการศึกษาวิจัยในระดับโมเลกุล พบว่ายีนของไวรัสเมื่อเข้าควบคุมแล้วจะเกิดการกลายพันธุ์ของยีน, การย้ายตำแหน่งของโครโมโซม และการเพิ่มจำนวนของยีนอย่างรวดเร็ว

ปกติเซลล์จะถูกควบคุมโดยกลุ่มของโปรตีน ให้มีการแบ่งตัวในอัตราที่เหมาะสม หากเซลล์ผิดปกติ จะเกิดกระบวนการต่อต้านการเกิดมะเร็งขึ้น ด้วยการทำลายตัวเองแบบอัตโนมัติ นอกจากยีนก่อมะเร็งแล้ว ยังมียีนยับยั้งการเกิดมะเร็งหลายชนิด และทำหน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งแตกต่างกัน เช่น ยีน p53 ทำหน้าที่สร้างโปรตีนจำเพาะ ผ่านกระบวนการที่ซับซ้อน และเป็นกลไกตรวจจับเซลล์ที่ผิดปกติทางพันธุกรรม โดยเป็นยีนที่มีความสำคัญ และมีการศึกษากันอย่างกว้างขวางในผู้ป่วยโรคมะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งลำไส้

ที่มา: ข่าวในพระราชสำนัก ช่อง ๗

รูป: สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์