รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2565

รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2565 สถาบันสรุปผลงานในรอบปี ที่แสดงถึงความตั้งใจและความพยายามของทุกฝ่ายที่ผลักดันให้ภาระงานมุ่งไปสู่จุดมุ่งหมายที่กำหนดภายใต้วิสัยทัศน์ “สร้างผู้นำงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” Producing Research leaders in Science and Technology โดยกำหนดยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ (1) ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามเป้าหมายของสาขาที่เชี่ยวชาญ (2) การพัฒนาพันธกิจหลักเพื่อขับเคลื่อนสู่การเป็นสถาบันการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก (3) การพลิกโฉมสถาบันสู่ความเป็นเลิศ (4) การพัฒนาการบริหารจัดการสู่องค์กรที่มีสมรรถนะสูง สรุปผลการดำเนินงานในรอบปี 2565 ดังนี้
รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2565

การลงนาม MOU/การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิจัย และวิชาการกับสถาบันที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ

 

สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ และ Graduate School of Medical and Pharmaceutical Sciences of Chiba University ได้ลงนาม “ข้อตกลงความร่วมมือหลักสูตร 2 ปริญญาเอกข้ามสถาบัน” (Agreement for Dual Doctoral Degree Program) เมื่อวันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม 2565 ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ และหลังจากลงนามข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว คณจารย์สถาบันฯ ได้พาคณะผู้แทนจาก Graduate School of Medical and Pharmaceutical Sciences of Chiba University เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยของสถาบันฯ

 

ผลงานวิจัยของนักศึกษาที่ได้รับรางวัล

 

Mr. Mario Wibowo บัณฑิตชาวต่างชาติจากประเทศอินโดนีเซีย ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจากสาขาเคมีชีวภาพ ในปีการศึกษา 2557 โดยมี รศ.ดร.ประสาท กิตตะคุปต์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนักวิจัยที่ Singapore Institute of Food and Biotechnological Innovation (SIFBI) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Agency for Science, Technology, and Research (A*STAR) โดย A*STAR เป็นหน่วยงานภาครัฐของประเทศสิงคโปร์ภายใต้กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ (Ministry of Trade and Industry of Singapore) และเป็นหน่วยงานสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาที่สอดคล้องกับด้านความได้เปรียบในการแข่งขันและความต้องการระดับชาติ

ภาพที่_สบจ_1.1.jpg
 

การบริหารงานในสถานการณ์ฉุกเฉิน

 

มาตรการควบคุมป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ภายในสถานที่ทำงาน สถาบันฯ ได้จัดให้มีคณะทำงานเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคโควิด-19 ที่มีหน้าที่ ติดตาม ข่าวสาร สถานการณ์การแพร่ระบาด รวมถึงแนวทางการป้องกันควบคุมโรคจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และได้เห็นถึงความสำคัญในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ในสถานที่ทำงาน จึงกำหนดให้มีการตรวจคัดกรองหาผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้กับคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา แม่บ้าน รปภ. คนสวน และผู้ประกอบการร้านค้าที่ปฏิบัติงานภายในอาคารสถาบันฯ ตั้งแต่ ส.ค. 2564 – เม.ย. 2565 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคอย่างต่อเนื่องและมีความรุนแรงของโรค โดยมีการจัดจ้างทีมนักเทคนิคการแพทย์จากโรงพยาบาลศิริราช เข้ามาทำการตรวจหาเชื้อด้วยวิธีเก็บตัวอย่างหลังโพรงจมูก (Nasopharyngeal Swab) หลังจากที่มีการระบาดครั้งใหญ่ก็ยังคงให้มีมาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดโดยการกำหนดมาตรการให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนทำการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตนเองโดยใช้ชุดตรวจที่สถาบันฯ แจกให้ โดยให้ตรวจและส่งผลตามเวลาที่สถาบันฯ กำหนดถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 นอกจากนี้สถาบันฯ มีการสนับสนุนมาตรการป้องกันและดูแลสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน เช่น การบริการเจลแอลกอฮอล์ล้างมือตามจุด การทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะที่มีการใช้งานร่วมกัน การแจกหน้ากากอนามัยให้ผู้ปฏิบัติงานใช้สวมใส่ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในอาคาร และการรักษาระยะห่าง

 

กิจกรรม CGI รวมใจสู่ชุมชน (บรรจุถุงยังชีพ)

 

สถาบันฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม จึงจัดโครงการสนับสนุนบุคลากรของสถาบันฯ ให้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมจิตอาสาหรือจิตสาธารณะ เพื่อเป็นการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม โดยมุ่งสร้างความตระหนักรู้ถึงการเสียสละ ร่วมมือร่วมใจในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม เป็นการปลูกจิตสำนึกแก่คณาจารย์และบุคลากรของสถาบัน ตลอดจนนักศึกษา ในการช่วยเหลือสังคมภายใต้องค์กรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญ จึงสนับสนุนให้บุคลากรทุกระดับและนักศึกษามีส่วนร่วมในการทำภารกิจจิตอาสา สัปดาห์ละ 1 ครั้งๆละ 1 วัน จำนวน 10 คน ตั้งแต่วันที่ 6-29 ตุลาคม 2564 โดยประสานกับกองบัญชาการกองทัพไทย เข้าร่วมบรรจุถุงยังชีพพระราชทานพร้อมลำเลียงไปยังจังหวัดต่างๆ เพื่อผู้ประสบอุทกภัย ณ กองพันระวังป้องกัน

 

กิจกรรม CGI จิตอาสา (สนับสนุนงานบริการศูนย์ฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19)

 

สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของงานบริการชุมชนและสังคมโดยรวม พร้อมร่วมเป็นส่วนหนึ่งของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ในการสนับสนุนงานศูนย์ฉีดวัคซีนป้องกันเซื้อไวรัสโควิด 19 จึงได้จัดโครงการสนับสนุนบุคลากรของสถาบันฯ ให้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม สร้างความตระหนักรู้ถึงการป้องกันโรคระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นการปลูกจิตสำนึกแก่คณาจารย์และบุคลากรของสถาบันฯ ให้ช่วยเหลือสังคม ในฐานะที่เป็นองค์กรมีความรู้และความเชี่ยวชาญ ในการให้บริการวิชาการแก่สังคม โดยการจัดจิตอาสาของสถาบันฯ ประกอบด้วยคณาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน และนักศึกษา เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 6 คนต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 4-29 ตุลาคม 2564 ณ อาคาร 9 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร เพื่อให้บริการประชาชน ชุมชน ให้ได้รับประโยชน์จากกิจกรรม สามารถเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนและสังคมยิ่งขึ้นไป

 

กิจกรรมการเลี้ยงอาหารกลางวันเด็กนักเรียน

 

ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา ได้จัดกิจกรรม “น้ำใจดีๆ จากพี่สู่น้อง” โดยการเลี้ยงอาหารกลางวันเด็กนักเรียนระดับปฐมวัยและประถมศึกษา และส่งมอบอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน สิ่งของเครื่องใช้ที่มีความจำเป็นซึ่งโรงเรียนยังขาดแคลน อาทิ อุปกรณ์การศึกษา อุปกรณ์ทำความสะอาด เครื่องครัว เมล็ดพันธ์พืชผักสวนครัว ให้แก่โรงเรียนวัดฉัตรทอง (เลื่อนประชานุกูล) ตำบลพระยาบันลือ อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 
รายงานผลการดำเนินงานประจำปี พ.ศ. 2564

 

รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2564 สถาบันสรุปผลงานในรอบปีที่แสดงถึงความตั้งใจและความพยายามของทุกฝ่ายที่ผลักดันให้ภาระงานมุ่งไปสู่จุดมุ่งหมายที่กำหนดภายใต้วิสัยทัศน์ “สร้างผู้นำทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” Producing leaders in Science and Technology โดยกำหนดยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ (1) พัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศในการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีคุณภาพ (2) การเสริมสร้างศักยภาพของคณาจารย์และนักศึกษาด้านการวิจัย (3) การให้บริการวิชาการ และเป็นแหล่งความรู้สำหรับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ (4) พัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดี (5) สืบสานพระปณิธานและส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ สรุปผลการดำเนินงานในรอบปี 2564 ดังนี้
รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2564
โครงการพระราชทานเข็มพิชญจุฬาภรณ์

 

ในวันที่ 9 เมษายน 2564 ทรงพระกรุณาพระราชทานเข็มพิชญจุฬาภรณ์ เพื่อเป็นบำเหน็จความดีความชอบแก่ผู้ปฏิบัติงานในราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพของ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2563 โดยสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์มีผู้ได้รับบำเหน็จความดีความชอบ ดังนี้

 


img_0108.jpg

 

1. ผู้ได้รับพระราชทานเข็มพิชญจุฬาภรณ์ ชั้นที่ 5 จำนวน 7 คน ดังนี้

 

ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง วันเริ่มงาน
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สมศักดิ์ รุจิรวัฒน์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ 16 พฤษภาคม 2549
รองศาสตราจารย์.ดร.พินิติ รตะนานุกูล รองอธิการบดีสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ 2 พฤศจิกายน 2558
รองศาสตราจารย์.ดร.ธณัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ ผู้ช่วยอธิการบดีสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ 1 กรกฎาคม 2553
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ ประธานสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพประยุกต์ 1 กันยายน 2559
รองศาสตราจารย์.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ ประธานสาขาพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม 1 ตุลาคม 2550
นางพนิดา ฟังธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานสถาบัน 1 พฤษภาคม 2550
นางสาวพีระนันท์ บูรณะโสภณ หัวหน้างานส่งเสริมวิชาการ 1 กันยายน 2552
2. ผู้ได้รับพระราชทานเข็มพิชญจุฬาภรณ์ ชั้นที่ 6 กรณีเป็นผู้ที่มีผลงานอันเป็นประโยชน์ต่อราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์และสาธารณชน จำนวน 4 คน ดังนี้

 

ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง วันเริ่มงาน ผลงาน
รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท กิตตะคุปต์ อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์เคมี 1 ตุลาคม 2559 ติดอันดับนักวิจัยโลก World’s Top 2% Scientists 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สถาปนวัฒน์ สิทธิหาญ อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์เคมี 15 พฤษภาคม 2560 รางวัล  lectureship awards จากการประชุม the 13th International Conference on Cutting-Edge Organic Chemistry in Asia (ICCEOCA-13) 
รองศาสตราจารย์ ดร.นพพร ทัศนา อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์เคมี 1 กันยายน 2557 รางวัล  lectureship awards จากการประชุม the 13th International Conference on Cutting-Edge Organic Chemistry in Asia (ICCEOCA-13) 
รองศาสตราจารย์ ดร.ชาญศักดิ์ ทองซ้อนกลีบ อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์เคมี 1 กันยายน 2557 รางวัล  lectureship awards จากการประชุม the 13th International Conference on Cutting-Edge Organic Chemistry in Asia (ICCEOCA-13) 
3. ผู้ได้รับพระราชทานเข็มพิชญจุฬาภรณ์ ชั้นที่ 6 จำนวน 5 คน ดังนี้

 

ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง วันเริ่มงาน
นายเสฏฐพล รุจิเมธากุล เจ้าหน้าที่บริหารงานวิชาชีพ (งานบัญชี) 1 มิถุนายน 2549
นางสาวชุติมา คมรัตน์นนท์ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป (งานการเงิน) 1 ตุลาคม 2555
นายสมศักดิ์ แท่นมณี นักวิชาการคอมพิวเตอร์ 1 ตุลาคม 2555
นางสาวชลธิชา สุขเกษม เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 1 ธันวาคม 2553
นางรัชนีวรรณ สังวรดี เจ้าหน้าที่สารสนเทศ 16 กันยายน 2552

โครงการทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคีมหากุศลเพื่อรวบรวมปัจจัยมอบให้โครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ วัดพระบาทน้ำพุ

 

ในวันศุกร์ที่ 9 เมษายน 2564 สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ได้จัดกิจกรรมทอดผ้าป่าสามัคคีมหากุศล เพื่อรวบรวมปัจจัยมอบให้โครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ วัดพระบาทน้ำพุ ภายใต้การดูแลของพระราชวิสุทธิประชานาถ (ท่านเจ้าคุณอลงกต) เจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุ โดยสถาบันฯได้นิมนต์พระสงฆ์วัดพระบาทน้ำพุ จำนวน 5 รูป ทำพิธีทอดผ้าป่าฯ ณ บริเวณโถงหน้าลิฟท์ ชั้น 1 อาคารสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์

 


dsc_2042.jpg

dsc_1828.jpg

dsc_2018.jpg

dsc_1787.jpg

dsc_2249.jpg

dsc_2198.jpg

dsc_2177-scaled.jpg
โครงการถวายเทียนพรรษาวิถีใหม่ ห่างไกลโควิด

 

ในวันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม 2564 เวลา 16.30 น. สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ได้จัดกิจกรรม “ถวายเทียนพรรษาวิถีใหม่ ห่างไกลโควิด” ณ ศูนย์การเรียนรู้ ชั้น M สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ โดยนิมนต์พระสงฆ์วัดหลักสี่ พระอารามหลวง จำนวน 1 รูป เพื่อรับการถวายเทียนพรรษาจากผู้แทนสถาบัน ทั้งนี้ การดำเนินกิจกรรมดังกล่าวภายใต้มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 อย่างเคร่งครัด

 


thumbnail_img_7090.jpg

thumbnail_img_7087.jpg

thumbnail_img_7088.jpg

thumbnail_img_7091.jpg
รายงานผลการดำเนินงานประจำปี พ.ศ. 2563

 

รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2563 สถาบันได้จัดทำขึ้นเพื่อสรุปผลงานในรอบปีที่แสดงถึงความตั้งใจและความพยายามของทุกฝ่ายที่ผลักดันให้ภาระงานมุ่งไปสู่จุดมุ่งหมายที่กำหนดภายใต้วิสัยทัศน์ “สร้างผู้นำทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” Producing leaders in Science and Technology โดยกำหนดยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ (1) พัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศในการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีคุณภาพ (2) การเสริมสร้างศักยภาพของคณาจารย์และนักศึกษาด้านการวิจัย (3) การให้บริการวิชาการ และเป็นแหล่งความรู้สำหรับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ (4) พัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดี (5) สืบสานพระปณิธานและส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ สรุปผลการดำเนินงานในรอบปี 2562 ดังนี้
รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2563
โครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่และปฏิบัติธรรมถวายเป็นพระกุศล ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

 

เมื่อวันที่ 15 – 23 กุมภาพันธ์ 2563 สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ได้เข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่และปฏิบัติธรรมถวายเป็นพระกุศล ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ณ สาธารณรัฐอินเดีย และสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล
 



พิธีขอขมาลาอุปสมบทและขลิบปอยผม ผู้เข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบท

 

เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ได้จัดพิธีขอขมาลาอุปสมบทและขลิบปอยผม ผู้เข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่และปฏิบัติธรรมถวายเป็นพระกุศล ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ณ สาธารณรัฐอินเดีย และสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล






พิธีอุปสมบทและการเข้าร่วมกิจกรรมของบุคลากรสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์

 

เมื่อวันที่ 15-23 กุมภาพันธ์ 2563 บุคลากรของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์เข้าร่วมพิธีอุปสมบทโครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่และปฏิบัติธรรมถวายเป็นพระกุศล ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ณ สาธารณรัฐอินเดีย และสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล






รายงานผลการดำเนินงานประจำปี พ.ศ. 2562

 

รายงานผลการดำเนินงานประจำปี พ.ศ. 2562

 

รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2562 สถาบันได้จัดทำขึ้นเพื่อสรุปผลงานในรอบปีที่แสดงถึงความตั้งใจและความพยายามของทุกฝ่ายที่ผลักดันให้ภาระงานมุ่งไปสู่จุดมุ่งหมายที่กำหนดภายใต้วิสัยทัศน์ “สร้างผู้นำทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” Producing leaders in Science and Technology โดยกำหนดยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ (1) พัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศในการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีคุณภาพ (2) การเสริมสร้างศักยภาพของคณาจารย์และนักศึกษาด้านการวิจัย (3) การให้บริการวิชาการ และเป็นแหล่งความรู้สำหรับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ (4) พัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดี (5) สืบสานพระปณิธานและส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ สรุปผลการดำเนินงานในรอบปี 2562 ดังนี้
รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2562
พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2562 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ขอพระราชทานกราบบังคมทูลเชิญ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ประจำปีการศึกษา 2556-2561 จำนวน 71 คน ณ อาคารสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์ ไปในการดังกล่าว

 




 

 

อาจารย์ของสถาบันฯ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ

เมื่อวันพุธที่ 24 กรกฎาคม 2562 ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ให้เกียรติมอบใบประกาศเกียรติคุณและช่อดอกไม้ แสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท กิตตะคุปต์ อาจารย์ประจำสาขาเคมีชีวภาพ สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ในโอกาสที่ได้รับอนุมัติจากสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ระดับรองศาสตราจารย์ สาขาวิชา เคมีอินทรีย์ (รหัส 0131) โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิ่มนวล ศรีจาด รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ด้านการศึกษา และรองศาสตราจารย์ ดร.พินิติ รตะนานุกูล รองอธิการบดีสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ พร้อมด้วยนางพนิดา ฟังธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ มอบกระเช้าดอกไม้ร่วมแสดงความยินดีด้วย
ผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัล

การประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ในปี พ.ศ. 2562 สถาบันได้รับผลการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งได้จัดให้มีการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยประเมินจากผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ สิทธิบัตร และการนำผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการไปใช้ประโยชน์ ในระหว่างปี พ.ศ.2550-2556 ทำให้ได้ทราบถึงปริมาณและคุณภาพของผลงานวิจัยเชิงวิชาการระดับสาขาวิชาของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ซึ่งมีหน่วยงานให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 408 หน่วยงาน จาก 25 สถาบันการศึกษา สรุปผลการประเมิน สถาบันมีค่า TRF Index ดังนี้



ผลงานวิจัยของอาจารย์ที่ได้รับรางวัล

เมื่อวันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม 2562 ดร.จำเรียง ธรรมธร อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์เคมี สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ได้รับทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ ปีที่ 17 จากบริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด โดยได้รับเกียรติจาก คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานในพิธี
ดร.นพพร ทัศนา ดร.ชาญศักดิ์ ทองซ้อนกลีบ และดร.สถาปนวัฒน์ สิทธิหาญ ได้รับรางวัล lectureship awards จากการประชุม the 13th International Conference on Cutting-Edge Organic Chemistry in Asia (ICCEOCA-13) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-4 พฤศจิกายน 2561 ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ประเทศไทย



ผลงานวิจัยของนักศึกษาที่ได้รับรางวัล

นางสาวปวิตรา เลาหไพศาล ได้รับรางวัล Outstanding Poster Award จากการนำเสนอผลงานวิจัย ชื่อ Development of New Methodology to Synthesize 3-Hydroxyfluorene and 4-Azafluorene Derivatives ในการประชุมวิชาการ The 9th Junior International Conference on Cutting-Edge Organic Chemistry In Asia (Junior ICCEOCA-9) ซึ่งจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 23 – 25 กันยายน 2562 ณ เมืองปูซาน ประเทศเกาหลี นางสาวจุไรภรณ์ วิเศษเสาวภาคย์ ได้รับรางวัลที่ 1 จากการประกวดการเสนอผลงานวิจัยดีเด่นชื่อ CHRONIC ARSENIC TREATMENT INDUCES TAU PHOSPHORYLATION IN DIFFERENTIATED HUMAN NEUROBLASTOMASH-SY5Y CELLS ในการประชุมสัมมนาวิชาการเรื่อง 2 ด้านของสารเคมี (Two Faces of Chemicals) ซึ่งจัดขึ้นโดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2561 ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กรุงเทพฯ นายวีระกิตติ์ วนิชวิทย์ ได้รับรางวัลที่ 1 จากการประกวดโปสเตอร์วิชาการประเภทผลงานวิจัยดีเด่น ชื่อ THE ROLES OF ENDORIBONUCLEASE-LIKE GENES RESPONSE TO ANTIBIOTIC RESISTANCE IN Stenotrophomonas maltophilia ในการประชุมสัมมนาวิชาการเรื่อง 2 ด้านของสารเคมี (Two Faces of Chemicals) ซึ่งจัดขึ้นโดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2561 ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กรุงเทพฯ
การให้บริการทางวิชาการ

สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์มุ่งขยายโอกาสทางการศึกษาสู่สังคมในระดับชาติ และระดับนานาชาติ และให้บริการแก่สังคมในสาขาที่สถาบันมีความเชี่ยวชาญ ในลักษณะของความร่วมมือแบบเครือข่ายภายใต้กิจกรรมบริการวิชาการต่างๆ อาทิ เช่น โครงการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ศึกษา “Science Education” โครงการ “ความรู้ดี ๆ จากพี่สู่น้อง ” โครงการความร่วมมือด้านวิชาการและงานวิจัย โครงการจัดการบรรยายให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นต้น
โครงการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ศึกษา “Science Education”- STEM ในหัวข้อ Creative AI and Go


ประชุมวิชาการนานาชาติในหัวข้อ “The 1st Symposium for the Distinguished Lectureship Awards on the International Cutting-Edge Organic Chemistry in Asia”

รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2561

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์




สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ได้ดำเนินการตามพระปณิธานโดยยึดหลักการในการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับสูง ให้มีความรู้ความสามารถในศาสตร์ที่เรียนมาและสามารถปรับใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ รวมทั้งในสังคมต่างวัฒนธรรม และมุ่งเน้นให้นักศึกษามีความซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบต่อตนเองและประเทศชาติ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สถาบันฯ เติบโตอย่างมีคุณภาพบนพื้นฐานของความเป็นสถาบันการศึกษาที่มีการวิจัยนำ
ผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัล


17-1.jpg

11-1.jpg
ในปีงบประมาณ 2561 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ ได้รับรางวัลผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2560 จากสำนักงานสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2561 นางสาวภรณ์กนกส์ พงษ์ภมร สาขาเคมีชีวภาพ ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานวิจัยภาควิจัยดีเด่น ชื่อผลงาน “Isolation of secondary metabolites from Lycopodium clavatum and semi-synthesis of their derivatives” ในงานประชุมวิชาการประจำปี RGJ-Ph.D Congress 19 “Innovation Challenges Toward Thailand 4.0” ซึ่งจัดขึ้นโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เมื่อวันที่ 7-9 มิถุนายน 2561 ณ โรงแรมจอมเทียน ปาล์ม บีช รีสอร์ท จังหวัดชลบุรี
การให้บริการทางวิชาการ




สถาบันให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ในรูปแบบต่างๆ ตามความถนัดและในด้านที่สถาบันมีความเชี่ยวชาญ การให้บริการทางวิชาการเป็นในรูปแบบการให้เปล่าโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย โดยให้บริการทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หน่วยงานอิสระ หน่วยงานสาธารณะ ชุมชน